Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานโครงสร้าง 4
งานโครงสร้าง 1 - งานโครงสร้าง 2 - งานโครงสร้าง 3 - งานโครงสร้าง 4 - งานโครงสร้าง 5 - งานโครงสร้าง 6


 ถนนที่ปูด้วยก้อนบล๊อคคอนกรีต น่าจะทำอะไรหลังจากปูแล้ว 1 ปี
  ทำหลังคาโครงสร้างไม้ อย่าเสียดาย "เหล็กประกับ"
 จี้ปูนอย่าให้โดนเหล็กหรือไม้แบบ
หาพื้นมีรอยร้าวจะทดสอบอย่างไร
วางพื้นสำเร็จ หากไม่อยากให้พังง่าย ๆ … อย่าลืม Shear Steel
ก่อสร้างในตรอกซอยแคบ ๆ อย่าใช้เหล็ก SD 40  


 ถนนที่ปูด้วยก้อนบล๊อคคอนกรีต น่าจะทำอะไรหลังจากปูแล้ว 1 ปี

 ตอนนี้ถนนตามโครงการบ้านพักอาศัยนิยมใช้ปูด้วยก้อนบล๊อคตัวหนอนคอนกรีต เพราะว่าสวยงาม นุ่มนวล ทำง่าย และราคาไม่แพง …. แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อมีรถวิ่งผ่าน หรือมีคนเดินมาก ๆ พื้นดิน และทราย ที่ปรับระดับไว้ เกิดการยุบตัวไม่เท่ากัน ก้อนบล็อคก็จะกระโดกกระเดก ไม่น่าดู จึงแนะนำ ให้เตรียมการ และเตรียมใจก่อนไว้ว่า เมื่อใช้ถนนที่งดงามนี้แล้วสัก 1-2 ปี น่ามีการรื้อ และปรับพื้น ทราย รองก้อนบล็อคใหม่ การปรับระดับครั้งใหม่ ทำเพียงครั้งเดียวก็พอ เพราะหลังจากนั้น การทรุดตัว ของดิน - ทรายรองพื้นน่าจะคงตัวแล้ว แลดูสวยงามไปอีกนาน 

ทำหลังคาโครงสร้างไม้ อย่าเสียดาย "เหล็กประกับ"

 เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อาจเพราะตอนนี้ใคร ๆ ก็ใช้โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตกันหมดแล้ว ช่างไม้ (ที่มีอาชีพประจำเป็นกสิกร) และสถาปนิก-วิศวกร (ที่ชอบออกแบบแต่ตึกโต ๆ ) จึงลืมไปว่า โครงหลังคา ที่ทำด้วยไม้ ในปัจจุบันไม่สามารถเข้าไม้ ไห้แนบเนียบเหมือนช่างโบราณ การตอกตะปู เพื่อยึดไม้ 2-3 แผ่น เข้าด้วยกัน แข็งแรงไม่พอ ขอให้ใช้เหล็กประกับเข้าประกับช่วยตามรอยต่อนั้นด้วยเถอะครับ (หากคุณไม่รู้ ว่าเหล็กประกับคืออะไร ก็ลาออกจากการเป็นช่างไม้- สถาปนิก-วิ ศวกร เถอะครับ …. แล้วแผ่นดินจะสูงขึ้น) 

 จี้ปูนอย่าให้โดนเหล็กหรือไม้แบบ

 ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาพื้นฐานอีกปัญหาหนึ่งที่บรรดา ช่างก่อสร้าง-ช่างเทคนิค-สถาปนิก-วิศวกร ต่างมองข้าม กันไปหมด ไม่ทราบว่าเส้นผมที่บังภูเขาเส้นนี้ อาจทำให้เกิดอาคารวิบัติขึ้นมาได้ เพราะการจี้ปูน ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า แล้วไปโดนเหล็กเสริม หรือไม้แบบ จะทำให้คอนกรีตอันประกอบด้วย หิน-ทราย-ปูน เกิดการแยกตัว ออกจากกัน หินซึ่งหนักกว่าจะตกลงข้างล่าง น้ำปูนจะลอยขึ้นข้างบน ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า "คอนกรีตหมูสามชั้น" ทำให้โครงสร้างคอนกรีตที่ออกแบบมา ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ตามต้องการ …. ระวังหน่อยนะครับ 

 หาพื้นมีรอยร้าวจะทดสอบอย่างไร

 คำว่า พื้น ในที่นี้หมายถึง โครงสร้างพื้น ไม่ใช่ วัสดุปูพื้น ส่วนรอยร้าวที่เกิดขึ้น ก็คือรอยร้าวที่เกิดขึ้น บนโครงสร้างพื้น อันแสดงว่า โครงสร้างอาคารของคุณ กำลังมีปัญหา การจะเข้าไปตรวจสอบว่า ทำไมถึงร้าว บางครั้งเป็นเรื่องยาก เพราะคอนกรีตถูกหล่อและแข็งตัวแล้ว ไม่มีทางตรวจสอบองค์ประกอบ ภายใน เช่น ชนิดของเหล็ก- ขนาดของเหล็ก-จำ นวนเหล็ก- การผูกเหล็ก- สภาพของคอนกรีต ได้
ถ้าท่านเป็นผู้ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบรอยร้าวนั้น วิธีการที่ดีที่สุดและทุกคนยอมรับได้ที่สุด (โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เจ้าของโครงการ) คือ การทดสอบด้วยการเอาน้ำหนักจริง ๆ ขึ้นไปวาง ซึ่งอาจทำ (เอง) ได้ 3 วิธีคือ
1. ใช้ถุงปูนวางบนพื้นทดสอบ (หาง่ายเพราะปูนถุงแต่ละถุงมีน้ำหนักกำกับไว้แน่นอน แต่ราคาอาจแพง เพราะปูนอาจเสียหายได้)
2. ใช้ถุงปุ๋ยบรรจุทรายวางบนพื้นทดสอบ (ยากขึ้นมานิดนึง เพราะต้องเอาทรายใส่ถุง แล้วชั่งน้ำหนัก แต่ละถุงก่อน อาจเลอะเทอะเพราะผงทรายหล่นร่วงบ้าง แต่ราคาถูกที่สุด)
3. กั้นขอบพื้นบริเวณที่จะทดสอบและใส่น้ำลงไป (ยาก เพราะต้องเตรียมการนาน แพง เพราะต้องเสีย ค่าใช้จ่าย ในการก่อเสริม (พร้อมฉาบปูนอย่างดี) แต่นอกจากจะทดสอบน้ำหนักแล้ว ยังตรวจสอบ การรั่วซึมได้อีก)
ลองเลือกวิธีที่เหมาะสมดู … แต่ว่าขอให้ผ่านวินิจฉัย- วิธีการ- น้ำหนักที่ จะทดสอบจากวิศวกร ผู้ออกแบบ ก่อนเสมอ 

 วางพื้นสำเร็จ หากไม่อยากให้พังง่าย ๆ … อย่าลืม Shear Steel

 เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะน่าเชื่อเท่าไรที่ว่ากว่า 50% ของการวางแผ่นพื้นสำเร็จแบบท้องเรียบของบ้านเรา มีการจัดวาง ผิดทั้งหมด เพราะเกิดปัญหาเส้นผม (หรือความโลภเล็ก ๆ น้อย ๆ ) บังภูเขา เนื่อจาก ไม่มีการ เสียบเสริมเหล็กเส้นเล็ก ๆ จากแนวคานที่วางพื้นสำเร็จหักงอเข้าสู่แผ่นพื้น (ดูภาพประกอบ) เรื่องนี้ เป็นเรื่อง ที่ Serious ทีเดียว เพราะเคยเป็นกรณีศึกษา "ตึกถล่ม" มาแล้ว ขอร้องเถอะครับ อย่าประหยัด เศษเหล็กส่วนนี้ไปแลกกับชีวิตคน อีกหลายคนเลย

  ก่อสร้างในตรอกซอยแคบ ๆ อย่าใช้เหล็ก SD 40

  อ่านดูแล้วไม่เห็นน่าจะเกี่ยวข้องกันเลย แต่ความจริงแล้วของสองสิ่งที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะเหล็กข้ออ้อย SD 40 จะมีความแกร่งมาก เวลาเขาส่งเหล็กพวกนี้จะขนส่งจากโรงงาน โดยไม่หักงอทบกัน ทำให้ต้องใช้รถขนาดยาวใหญ่ หากตรอกซอย ที่ท่านก่อสร้างนั้นแคบเกินไป รถขนาดยาวใหญ่นั้น ไม่สามารถ หักเลี้ยวได้ แน่นอนที่สุดท่านไม่สามารถขนส่งเหล็ก SD 40 เข้าสู่สถานที่ก่อสร้างได้ แล้วท่านจะก่อสร้าง ของท่าน อย่างไรไม่ทราบ  ... อ่านต่อ


Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved