Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับห้องน้ำ ระบบสุขาภิบาล3
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับห้องน้ำ 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับห้องน้ำ 2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับห้องน้ำ 3 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับห้องน้ำ 4


ท่อส้วม ท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้ง เอียงได้แค่ไหน จึงไม่ทะลุเพดาน ?
 เตรียมทางระบายน้ำฝนให้เพียงพอ สำหรับที่จอดรถที่ทำหน้าที่เป็นหลังคา
 ออกแบบหรือก่อนทำห้องน้ำ คิด-จัดเตรียมเฟอร์นิเจอร์เล็กไว้ด้วย
 อย่าลืม Flush Valve ต้องการแรงดันมากกว่า Flush Tank
มีช่อง Duct ช่อง Shaft คิดถึง-เตรียมการซ่อมท่อภายในด้วย
วางโถส้วมไว้ใกล้แนวคานโครงสร้าง ต้องระวังให้ดี


 ท่อส้วม ท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้ง เอียงได้แค่ไหน จึงไม่ทะลุเพดาน ?
 สถาปนิกหลายคนมักจะเจอปัญหาว่า เมื่อท่อส้วม ท่อน้ำ จะเดินจากจุดของสุขภัณฑ์ ไปยังช่องท่อหลัก (Duct) จะต้องเตรียมพื้นที่ ใต้ฝ้าไว้กี่ ซม. ก็ขอแนะนำ ให้ลองใช้สูตรคำนวณข้างล่างนี้ดู :

"ระยะใต้ฝ้าถึงใต้พื้นเผื่อไว้ = 1.5 ขนาดท่อ + Slope 1: 50 + 5 ซม."
เช่นหากมีห้องระยะพื้นถึงพื้น (Floor to Floor) = 3.00 m. พื้นหนา = .25 m.
จุดท่อลงจากสุขภัณฑ์ห่างจากท่อหลัก (duct) = 6.00 m. ท่อส้วมมีขนาด = 4นิ้ว หรือ .10 m.
ต้องคำนวณดังนี้ :

Floor to concrete Ceiling = 3.00 - .25 = 2.75 m.
เตรียมช่องว่างสำหรับเดินท่อและฝ้า = (1.5 ด .10)+(6.00/50)+.05= 0.15 +.12+.05 = 0.32 m.
เหลือระยะ Floor to Ceiling ใหม่ = 2.75 - 0.32 = 2.43 m.

จากสูตรดังกล่าวก็สามารถคำนวณย้อนไปย้อนมา เพื่อหาระยะห่างระหว่างสุขภัณฑ์ กับท่อหลักได้ว่า จะห่างกันเท่าไร หากต้องการควบคุม ไม่ให้ฝ้าเพดานเตี้ยเกินไป 

 เตรียมทางระบายน้ำฝนให้เพียงพอ สำหรับที่จอดรถที่ทำหน้าที่เป็นหลังคา
 อาคารหลายอาคารที่ออกแบบให้เป็นอาคารที่จอดรถและมีตึก (Tower) ตั้งอยู่ข้างบน โดยที่จอดรถจะทำหน้าที่เป็นหลังคาดาดฟ้าส่วนเตี้ยไปด้วย ซึ่งหลายท่านจะออกแบบให้มีรูระบายน้ำ (Floor Drain) เอาไว้ไม่เพียงพอ เพราะนอกจากดาดฟ้านั้นจะรับน้ำฝนโดยพื้นที่ของมันเองแล้ว ยังต้องรับน้ำฝนที่มาจากตัว Tower ด้วย ปริมาณน้ำจึงมากกว่าที่คำนวณไว้ ทำให้รูระบายน้ำที่เตรียมไว้ระบายไม่ทัน น้ำก็จะท่วม และไหลลงสู่ทางลาดรถวิ่ง และไปสู่ชั้นอื่น ๆ แล้วก็เข้าช่องท่อไฟ ช่องลิฟท์ ….สนุกสนาน
อีกประการหนึ่งที่ควรจะระวังก็คือการจัดเตรียมความลาดของพื้นที่จอดรถซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตหยาบ (คอนกรีตที่เทเสร็จแล้วไม่มีการปรับแต่งระดับหน้าอีกครั้ง) ที่ความลาดในตอนทำโครงสร้าง ไม่ได้ลาดไปสู่รูระบายน้ำทำให้น้ำแทนที่จะไหลออกจากตึก อาจจะไหลกลับเข้ามาในตึกแทน …อันตรายเชียว 

 ออกแบบหรือก่อนทำห้องน้ำ คิด-จัดเตรียมเฟอร์นิเจอร์เล็กไว้ด้วย

 คำว่าเฟอร์นิเจอร์เล็ก ๆ ในห้องน้ำนี้หมายถึง กล่องหรือที่ใส่กระดาษทิชชู แท่นวางสบู่ ทีเขี่ยบุหรี่ (ในกรณีที่ท่าน ยังไม่เป็นมะเร็ง) สายชำระ ที่แขวนผ้าเช็ดตัว ม่านกันน้ำ ฯลฯ ไม่ได้หมายถึงโถส้วม อ่างอาบน้ำ อ่างล้างหน้า หลายครั้งที่ท่านจัดวางสุขภัณฑ์ในห้องน้ำเสร็จเรียบร้อย และทำการก่อสร้างตกแต่ง ท่านถึงจะมาคิดถึง เจ้าเฟอร์นิเจอร์เล็ก ๆ เหล่านี้ แล้วท่านก็หาที่วางไม่ได้ หรือบางครั้งอาจต้องทุบ รื้อ กระเบื้อง- ผนัง เพื่อติดตั้ง หากฝืนวางลงไปอาจเกิดปัญหาในขณะใช้สอยได้ เช่น
- อาบน้ำแล้ว กระเซ็น ถูกทิชชูเปียก
- ม่านกันที่อาบน้ำไปเกะกะโถส้วม
- นั่งส้วมสูบบุหรี่ แล้วต้องเขี่ยบุหรี่ลงพื้น
- อาบน้ำเสร็จตัวเปียก ๆ แต่ต้องเดินตั้งไกลกว่าจะหยิบผ้าเช็ดตัวได้ เป็นต้น 

 อย่าลืม Flush Valve ต้องการแรงดันมากกว่า Flush Tank
 Flush Valve & Flush Tank ในที่นี้หมายถึงชนิดของโถส้วมชักโครก 2 ชนิด ชนิดที่ไม่มีถังน้ำอยู่ด้านหลัง ใช้แรงดันของน้ำในท่อน้ำมาชำระ ความสกปรกในโถส้วม เราเรียกว่า ส้วมชักโครกชนิดฟลัชวาล์ว (Flush Valve) ส่วนโถส้วมที่มีถังเก็บน้ำอยู่ด้านหลัง เวลากดปุ่มชำระ น้ำในถังจะไหลออกมา ชำระความสกปรก โถส้วมประเภทหลังนี้เรียกว่า โถส้วมระบบฟลัชแทงค์ (Flush Tank) จะเห็นได้ว่าโถส้วมระบบ Flush Valve ต้องการแรงดันน้ำ ในท่อน้ำมาก เพราะใช้น้ำโดยตรงจากท่อน้ำ แต่ระบบ Flush Tank ม่ต้องการแรงดัน ในท่อน้ำมาก เนื่องจากเก็บน้ำเอาไว้แล้วในถัง … หากท่านกำลังออกแบบ หรือเลือกชนิดของโถส้วม กรุณาตรวจสอบ ระบบ-แรงดันของท่อน้ำก่อนเสมอ (หากท่านเห็นว่าชนิดของโถส้วมสำคัญมาก ท่านก็อย่าลืมเปลี่ยนแรงดัน ในท่อให้เหมาะสมด้วย)

 มีช่อง Duct ช่อง Shaft คิดถึง-เตรียมการซ่อมท่อภายในด้วย
 ช่อง Duct หรือ ช่อง Shaft คือ กล่องยาว ๆ หรือช่องว่างทางตั้งตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อแบ่งให้เป็นทางเดิน ของท่อนานาชนิด เดินอยู่ภายใน ถ้าท่านเป็นผู้ออกแบบ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ช่วยกรุณาอย่าลืมข้อเตือนใจ ในการซ่อมบำรุง 3 ข้อนี้นะครับ
1. ต้องมีประตู (น่ามีทุกชั้น) เพื่อเปิดเข้าสู่ Duct-Shaft นั้นได้ บางคนออกแบบเอาสวยอย่างเดียว ก่ออิฐฉาบปูนปิดไปหมด ท่อแตกขึ้นมาต้องทุบผนังไปหาว่าแตกตรงไหน กว่าจะเจอ อาจต้องทุบ ตั้งแต่ชั้นล่าง ไปยันดาดฟ้าทีเดียว
2. จัดวางตำแหน่งภายในช่อง Duct-Shaft ให้เป็นระเบียบ สามารถเอื้อมมือจากประตู Duct ไปสู่ ท่อทุกท่อ ได้โดยตรง อย่าให้ท่อวางบังกันซ้อนกัน ไม่เช่นนั้นหากท่อด้านหลัง (ที่ถูกบัง) ชำรุด ท่านก็ต้องตัดทุบ ท่อด้านหน้า ออกให้หมดก่อน เพื่อซ่อมท่อด้านหลัง !!!
3. เผื่อช่องว่างระหว่างท่อไว้บ้าง หากต้องมีการตัดท่อเพื่อซ่อมบำรุงบางจุด จะได้สามารถต่อท่อ เข้าหากัน ได้ อีก เพราะการต่อท่อ โดยทั่วไปต้องใช้ข้อต่อที่โตกว่าท่อ หากไม่มีช่องว่างเหลือไว้เลย ข้อต่อก็เข้าไปต่อไม่ได้ ท่อที่ชำรุดแตกพังนั้นก็ต้องพิการตลอดกาล..ตลอดไป
เรื่องท่อในช่อง Duct-Shaft นี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ตึกเลว ๆ ที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ อาจยังไม่เห็นปัญหา แต่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นแน่นอนเมื่ออาคารนั้นอายุเกิน 10 ปี 

 วางโถส้วมไว้ใกล้แนวคานโครงสร้าง ต้องระวังให้ดี
 โถส้วมจะใช้งานได้สมบูรณ์ต่อเมื่อต้องมีท่อส้วมเพื่อนำสิ่งปฏิกูลไปสู่บ่อเกรอะ! หากท่อส้วมถูกขวางทาง ด้วยโครงสร้าง จนไม่สามารถเดินทาง (หรือเดินทางไม่สะดวก) ไปสู่บ่อเกรอะได้ โถส้วมนั้น ก็ใช้การไม่ได้ การวางโถส้วมซ้อนทับ ที่แนวคานโครงสร้าง หรืออยู่ใกล้แนวคานมากเกินไป ขอให้ผู้ออกแบบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาปนิก และมัณฑนากร) ตรวจสอบตรวจดูแบบโครงสร้างประกอบ เพื่อหาแนวทาง เดินท่อส้วม ก่อนวางตำแหน่งโถส้วมนะครับ 
... อ่านต่อ


Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved