Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายก่อสร้างอาคาร


ทำไมที่จอดรถอาคารสูงถึงต้องออกแบบ ให้ Floor to Floor = 2.70 เมตร ทั้งที่ตามกฎหมาย ต้องการความสูง Floor to Ceiling เพียง 2.10 เมตร เท่านั้น?
ก่อสร้างอาคารผิดจากแบบที่ขออนุญาต ก่อสร้างไปเยอะเลย…จะทำอย่างไร?
ไม่ทราบปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายก่อสร้าง ถามไถ่ที่ไหนดี
อยากจอดรถในบ้านสบาย ๆ ให้ที่จอดรถกว้างสัก 3.00 เมตร หรือ 5.50 เมตร
จะซื้อที่ดินสักแปลง ต้องตรวจเช็คหน่วยราชการที่ใดบ้าง ?




 ทำไมที่จอดรถอาคารสูงถึงต้องออกแบบ ให้ Floor to Floor = 2.70 เมตร ทั้งที่ตามกฎหมาย ต้องการความสูง Floor to Ceiling เพียง 2.10 เมตร เท่านั้น?
 เวลาออกแบบอาคารสูง สถาปนิกหลายท่านจะออกแบบให้ระยะพื้นถึงพื้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะ จะเสียระยะถอยร่น (Setback) น้อยที่สุด เสียงบประมาณน้อยลง และยังทำให้ความยาว ของทางลาดวิ่ง (Ramp) สั้นลงไปด้วย หากยิ่งโครงสร้าง เป็นระบบ Flat Slab (พื้นเรียบ) ไม่ว่าจะเป็น Post Tension หรือไม่ก็ตาม มักออกแบบ ให้ระยะ Floor to Floor ประมาณ 2.50 เมตร ซึ่งแบ่งให้เป็น ความหนาของพื้น 25-40 ซม. ส่วนที่เหลืออีก 2.10-2.25 เมตร ก็จะมีความสูงเพียงพอ กับที่จอดรถตามกฎหมาย
แต่หากไม่ติดอะไรจริงจังขอแนะนำให้ใช้ระยะ Floor to Floor = 2.70 เมตร เพราะระยะดังกล่าว ลิฟท์ (Elevator) ในทุกความเร็ว และทุกยี่ห้อ สามารถจอดได้ทุกชั้น หากเป็นระยะ 2.50 เมตร จะมีลิฟท์ เพียงบางยี่ห้อ และบางความเร็วเท่านั้น ที่จะสามารถจอดได้ทุกชั้น
เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ "ต้องจอดลิฟท์ชั้นเว้นชั้น" อย่างที่เคยพบ เคยเจอกันทั่วไป หรือไม่ก็ ทำให้ ราคาลิฟท์แพงขึ้น เพราะมีเพียงลิฟท์บางยี่ห้อเท่านั้น ที่จะสามารถ จอดได้ทุกชั้น (ณ 2.50 เมตร) การแข่งขันด้านราคาไม่เกิดขึ้น 

 ก่อสร้างอาคารผิดจากแบบที่ขออนุญาต ก่อสร้างไปเยอะเลย…จะทำอย่างไร?
 ถ้าแบบที่ก่อสร้างนั้นถูก ตามข้อกำหนดกฎหมายก็รีบเขียนแบบใหม่เพื่อขออนุญาต แต่ถ้าที่ก่อสร้างไปนั้น ผิดข้อกำหนด …. ไม่ต้องทำอะไร รอตำรวจมาจับอย่างเดียว) 

 ไม่ทราบปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายก่อสร้าง ถามไถ่ที่ไหนดี
 หากไม่ทราบเรื่องนี้จริง ๆ การเดินไปสืบถามโดยตรงกับหน่วยงานราชการ ท่านอาจจะปวดหัวบ้าง เพราะ หาคนตอบลำบาก และกฎหมายเป็นเรื่องของหลายหน่วยงาน หากจะถามโดยตรง กับทางราชการ ท่านอาจจะต้องวิ่งรอก ไปหลายหน่วยงานทีเดียว ดังนั้นแนะนำว่า ท่าจอาจจะสอบถาม (ครั้งแรก) ไปที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือ วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ก่อนน่าจะดี เพราะเขาจะตอบปัญหาพื้นฐานได้บ้าง ก่อนที่ท่านจะไปเจาะลึก ต่อไปกับทางราชการโดยตรง 

 อยากจอดรถในบ้านสบาย ๆ ให้ที่จอดรถกว้างสัก 3.00 เมตร หรือ 5.50 เมตร
 ตามกฎหมายไทยกำหนดให้ที่จอดรถไว้กว้าง 2.50 เมตร/คัน หรือ 5.00 เมตร/2คัน แต่ที่จอดรถในที่บ้าน ที่ดีน่าจะกว้าง 3.00 เมตร/คัน (ซึ่งมักทำกันอยู่แล้ว) และน่าจะกว้างสัก 5.50 เมตร สำหรับการจอดรถ 2 คัน (มักออกแบบ-ทำกันเพียง 5.00 เมตร) เพราะการจอดรถที่บ้าน กับการขอดรถที่ทำงานไม่เหมือนกัน ที่จอดรถ ที่บ้านจะต้องมีการเช็ดล้างขัดถู เก็บของ เอาของออก ฯลฯ จึงต้องการความกว้างมากกว่าปกตินิดหน่อย หากท่านอยากมีความสุขเกี่ยวกับรถของท่าน (ซึ่งบางคันแพงกว่าบ้านเสียอีก) อย่าเสียดายพื้นที่เพิ่มอีกครึ่งเมตร นี้เลย 

 จะซื้อที่ดินสักแปลง ต้องตรวจเช็คหน่วยราชการที่ใดบ้าง ?
 ความจริงน่าจะไปถามที่กรมที่ดินหรือหาหนังสือเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินอ่านจะดีที่สุด แต่เท่าที่นึกออก คงจะมี ดังต่อไปนี้ :
1. การทางพิเศษ (เรื่องทางด่วน)
2. กทม. หรือ กรมโยธาธิการ (เรื่องการตัดถนน และ เขตห้ามก่อสร้าง)
3. กรมการบินพาณิชย์ (เขตห้ามก่อสร้างเพราะไปบังคลื่นวิทยุ)
4. กรมทางหลวง (เรื่องการตัดถนน)
5. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ การไฟฟ้าภูมิภาค (สายไฟแรงสูงผ่าน)


Top Page
ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Tel : ( 02 ) 890-4598   Fax : ( 02 ) 465-4560

Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved