Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 
 

 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก การออกแบบ1
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก  2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 3

.
ข้อมูลบางส่วนนี้ คัดมาจากหนังสือ ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง ของ อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แก่ผู้สนใจครับ


ค่าออกแบบ ….เขาคิดกันอย่างไร (จากเจ้าของโครงการ) ?
ค่าออกแบบ ….เขาแบ่งกันอย่างไร (ระหว่างสถาปนิกและวิศวกร) ?
หากคุณมีปัญหากับสถาปนิก และวิศวกร คุณจะทำอย่างไรดี
สถาปนิก ต้องมีจรรยาบรรณอะไรบ้าง และแบ่งระดับชั้นกันอย่างไร?


 ค่าออกแบบ ….เขาคิดกันอย่างไร (จากเจ้าของโครงการ) ?
 ตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แบ่งประเภทการบริการออกแบบสถาปัตยกรรม ไว้เป็น 6 ประเภท แต่ละประเภทจะมีค่าบริการไม่เท่ากัน และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามงบประมาณ ที่ก่อสร้าง โดยแยกออกโดยสังเขปดังนี้ :

  • ประเภทที่ 1 = ตกแต่งภายใจ, ครุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์

  • ประเภทที่ 2 = พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตร

  • ประเภทที่ 3 = บ้าน (ไม่รวมตกแต่งภายใน)

  • ประเภทที่ 4 = โรงพยาบาล รัฐสภา โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย

  • ประเภทที่ 5 = สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงอุตสาหกรรม

  • ประเภทที่ 6 = โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด

โดยแต่ละประเภทแยกค่าบริการตามงบประมาณได้ดังต่อไปนี้ (เป็นร้อยละ)

ประเภท

ไม่เกิน
10 ล้าน

10 ล้าน
-30 ล้าน

30 ล้าน
- 50 ล้าน

50 ล้าน
-100 ล้าน

100 ล้าน
- 200 ล้าน

200 ล้าน
-500 ล้าน

1

10.00

7.75

6.50

6.00

5.25

4.50

2

8.50

6.75

5.75

5.50

4.75

4.25

3

7.50

6.00

5.25

5.00

4.50

4.00

4

6.50

5.50

4.75

4.50

4.25

3.75

5

5.50

4.75

4.50

4.25

4.00

3.50

6

4.50

4.25

4.00

3.75

3.50

3.25

ในการคำนวณค่าบริการ ใช้คิดเป็นขั้นตอนของงบประมาณ เช่นอาคารคอนโดมิเนียม มีงบประมาณ 35,000,000 บาท คิดค่าแบบตามประเภทที่ 4 ดังนี้ :
     10  ล้านบาทแรก       คิด 6.50 %                         =     650,000   บาท
     20  ล้านบาทแรก       คิด 5.50 %                         =  1,100,000   บาท
      5  ล้านบาทแรก        คิด 4.75 %                         =     237,000  บาท
          รวมค่าบริการทั้งหมด                                     =   1,987500   บาท  ( = 5.60 % )

  ค่าออกแบบ ….เขาแบ่งกันอย่างไร (ระหว่างสถาปนิกและวิศวกร) ?
 ค่าบริการของสถาปนิกเมื่อได้รับมาจากเจ้าของงานแล้ว จำเป็นที่ต้องแบ่งให้บรรดาวิศวกรต่าง ๆ ที่เข้ามา ร่วมงาน (ไม่เช่นนั้นวิศวกรคงไม่ยอมทำงาน) ซึ่งจะจัดการแบ่งตามวิธีการดังนี้ :

  • 1. เมื่อรับเงินมาสามารถหักค่าใช้จ่ายบางประเภทออกก่อนคือ

    • - ค่าประสานงาน (หักไม่เกิน 10%)

    • - ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ (ไม่เกิน 15%)

  • 2. เหลือเงินจากข้างต้นเมื่อไรจะแบ่งกัน โดยแยกประเภทของโครงการเป็น 4 ประเภท คือ

    • - ประเภทที่ 1 = บ้าน

    • - ประเภทที่ 2 = อาคารชุด สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน

    • - ประเภทที่ 3 = โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สนามกีฬาในร่ม

    • - ประเภทที่ 4 = โรงงาน โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด

โดยจะแบ่งออกเป็นสัดส่วนร้อยละดังต่อไปนี้

ประเภทของงาน/คน

1

2

3

4

สถาปนิก

65%

60%

55%

50%

วิศวกรโครงสร้าง

20%

20%

22%

26%

วิศวกรสุขาภิบาล

5%

5%

6%

6%

วิศวกรไฟฟ้า

10%

10%

11%

11%

วิศวกรเครื่องกล

0

5%

6%

6%


รายละเอียดเพิ่ม สอบถามได้ที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ …ทันที 

  หากคุณมีปัญหากับสถาปนิก และวิศวกร คุณจะทำอย่างไรดี
 ปัญหาที่เกิดขึ้นหากคุณคิดว่าเป็นความบกพร่องในหน้าที่ จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ หรือความสามารถ (ไม่ใช่ เรื่องความสวยความงาม) ที่ไม่อาจตกลงกันได้อีกต่อไปแล้ว และคุณก็ไม่รู้ จะหันหน้าไปพึ่งใคร ขอแนะนำ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ :
1. ร้องทุกข์หรือขอคำปรึกษาจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นขั้นตอนแรกที่ง่ายที่สุด ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
2. หากขั้นตอนแรกไม่เป็นที่พอใจ หรือหาข้อยุติไม่ได้ ก็ทำเอกสารเป็นทางการ ร้องทุกข์ไปยัง คณะกรรมการ ควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม ( กส.) หรือ คณะกรรมการควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม ( กว.) กระทรวงมหาดไทย
3. หากยังตกลงกันไม่ได้ หรือยังไม่เป็นที่พอใจก็ฟ้องศาลสถิตยุติธรรมเลยครับ 

 สถาปนิก ต้องมีจรรยาบรรณอะไรบ้าง และแบ่งระดับชั้นกันอย่างไร?
 1. ภาคีสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ …. ภ.) ยังถือว่าเป็นสถาปนิกที่ยังมีประสบการณ์น้อยอยู่ สามารถออกแบบ (เซ็นชื่อ ขออนุญาต) อาคารโรงงงานอุตสาหกรรมและห้องแถวได้โดยไม่จำกัด แต่หากเป็นอาคารสาธารณะ หรืออาคารทางวัฒนธรรม หรือบ้านและอาคารพักอาศัย จะออกแบบได้โตไม่เกินกว่า 1,000 ตารางเมตร …. แต่สำหรับงานอำนวยการก่อสร้าง (ควบคุมงาน) นั้น สามารถทำได้ทุกขนาดและทุกชนิด
2. สามัญสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ .… ส.) ถือว่าบารมีแก่กล้าพอแล้วสามารถออกแบบและอำนวยการ ก่อสร้าง ได้ทุกชนิดทุกขนาด โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ยังเป็นคณะกรรมการ ก.ส.ไม่ได้ (หากได้รับเชิญจากทางราชการ)
3. วุฒิสถาปนิก (ลงท้ายชื่อด้วย สถ …. ว.) ถือว่ามีประสบการณ์สูงสุดทำอะไรต่ออะไรได้ทุกอย่างเหมือนกับสามัญสถาปนิก และสามารถเป็นกรรมการ ก.ส. ได้ด้วย 
  ... อ่านต่อ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก  2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 3
Top Page

ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Tel : ( 02 ) 890-4598   Fax : ( 02 ) 465-4560

Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved