Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 
 

 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการบริหารงานก่อสร้าง3
การบริหารงานก่อสร้าง 1 - การบริหารงานก่อสร้าง 2 - การบริหารงานก่อสร้าง 3


รู้ไหมอะไรคือความแตกต่างของ Inspector, Consultant, C.M. ?
อะไรกันนะ เงินล่วงหน้า เงินประกันสัญญา เงินประกันผลงาน ฯลฯ
ออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่โต ๆ น่ายอมเสียเงินค่าทำระดับ Comtour
หาฤกษ์ก่อสร้างง่าย ๆ โดยตัวเอง
ฤกษ์เสาเอกอาคารสมัยใหม่เขานับกันตรงไหน
Basic ขั้นที่ 1 เมื่อคุณไปตรวจงานก่อสร้าง


 รู้ไหมอะไรคือความแตกต่างของ Inspector, Consultant, C.M. ?

 ตอนนี้คำว่าผู้บริหารการก่อสร้าง (C.M. : Costruction Management) กำลังฮิตติดตลาด ใครทำโครงการก่อสร้างงอไร ก็อยากจะจ้าง C.M. กันทั้งนั้นดูจะๆไม่ทันสมัย และเอกไปคุยไม่ได้ … แต่หลายคนอาจจะยัง ไม่ทราบเลยว่า Inspector (ผู้ควบคุมงาน) กับ Consultant (ที่ปรึกษา) และ C.M. (ผู้บริหารการก่อสร้าง) นั้น แตกต่างกันอย่างไร ก็ขออธิบายสั้น ๆ ดังนี้ :
- Inspector ทำหน้าที่ควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบ
- Consultant ทำหน้าที่ควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบและแก้ปัญหาทางเทคนิค
- C.M. ทำหน้าที่อะไรก็ได้เพื่อเป้าหมายให้โครงการประสบความสำเร็จด้านคุณภาพ-งบประมาณ-เวลา (Quality- Cost-Time) ดังนั้น C.M. น่าจะเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทุกด้าน ทั้งสถาปนิก วิศวกร นักบัญชี นักกฎหมาย ฝ่ายจัดซื้อ ฯลฯ เพื่อที่จะทำหน้าที่ตัวแทนของเจ้าของโครงการได้ครบทุกอย่าง ให้การสนับสนุนฝ่ายต่าง ๆ ที่เข้าร่วมในโครงการเพื่อเป้าหมายของคุณภาพ-งบประมาณ-เวลา 

 อะไรกันนะ เงินล่วงหน้า เงินประกันสัญญา เงินประกันผลงาน ฯลฯ

 การก่อสร้างในบ้านเราใหญ่โตขึ้นทุกวัน การทำสัญญาก่อสร้าง การจ่ายชำระค่าก่อสร้าง การค้ำประกันผลงาน เป็นเรื่องที่ชักจะวุ่นวาย และเป็นที่ถกเถียงกัน ระหว่างเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และที่ปรึกษากันมาก จึงขอเรียบเรียงเรื่องได้ดังนี้
1. เมื่อตกลงทำสัญญา (สมมุติค่าของงานตามสัญญา = 100 บาท) ผู้ว่าจ้างมักต้องจ่ายเงินล่วงหน้า (Advance Payment) ให้ผู้รับเหมา 10% (บางทีก็ 5%) เป็นเงินสด 10 บาท แล้วผู้รับเหมา จะส่งเอกสาร ค้ำประกันธนาคาร ให้ผู้ว่าจ้าง 2 ใบ ใบแรกคือ ค้ำประกันเงินล่วงหน้า ที่รับไป (Advance Bank Garantee) เท่าจำนวนเงินล่วงหน้าที่รับไปคือ 10 บาท ส่วนใบที่สองเป็นเอกสาร ค้ำประกันสัญญา (Contract Garantee) ประมาณ 5% คือ 5 บาท ณ วินาทีนั้น เจ้าของจะจ่ายเงินสดออก = 10 บาท และได้ Bank Garantee คืนมา 2 ฉบับ รวมมูลค่า 15 บาท (10 บาท + 5 บาท) เอกสารทั้งสองใบ มีอายุเท่ากับ ระยะเวลาเต็ม ของสัญญา
2. เมื่อมีการทำงานกันเกิดขึ้น ผู้รับเหมาทำงานเสร็จแล้วบางส่วน (สมมุติว่ามีมูลค่าที่ทำไปแล้ว 20 บาท) เวลาผู้รับเหมาเบิกเงิน ก็จะต้องหักเงินที่ได้รับล่วงหน้าออกไปตาม % เดิม (เรียกภาษาก่อสร้างว่า Reimbursement) และหักค่าค้ำประกันผลงาน (ไม่ใช่ค้ำประกันสัญญา เรียกว่า Retension) อีกประมาณ 5% เช่นเบิกเงินมูลค่า 20 บาท จะรับไปจริงเพียง 17 บาท (20 บาท - 2 บาท - 1 บาท)
3. เมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าของจะจ่ายเงินไปทั้งหมด 95 บาท เพราะได้ Advance คืนครบหมด แต่เก็บ Retension ไว้ 5 บาท
4. เมื่อผู้รับเหมาส่งงานพร้อมเอกสารทุกอย่างแล้ว เจ้าของก็จะจ่ายเงิน (สด) 5 บาทที่หักเขาไว้ เอา Bank Garantee 2 ใบที่ได้มาเมื่อวันเซ็นสัญญา คืนผู้รับเหมาไป และผู้รับเหมาก็จะทำเอกสารค้ำประกันใหม่ให้ 1 ใบ (Work Garantee) เพื่อประกันผลงานอายุ 1 ปี ให้เจ้าของไป
5. เมื่อครบ 1 ปี หากงานไม่มีปัญหาอะไร เจ้าของก็จะคืน Work Garantee ให้ผู้รับเหมาไป …. เป็นอันจบพิธี 

 ออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่โต ๆ น่ายอมเสียเงินค่าทำระดับ Comtour

 โครงการที่มีที่ดินใหญ่ ๆ (ตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป) ระดับพื้นดินจะไม่ค่อยราบเรียบเป็นระดับเดียวกันนัก งบประมาณ จำนวนไม่น้อย จะเสียไปเป็นค่าถมและปรับระดับดิน หากเรารู้ก่อนว่าบนที่ดินของเราตรงไหน เป็นหลุม ตรงไหนเป็นโคก เราก็สามารถออกแบบ หรือวางแผนให้ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้เหมาะสม กับพื้นที่จริง หรืออาจจะคำนวณถึง การขุด-ถมดินได้ (ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า Cut & Fill)
การที่เราจะทราบถึงค่าระดับต่าง ๆ บนที่ดินเรา เราน่าจะยอมเสียเงิน ว่าจ้างบริษัทสำรวจพื้นที่ดิน มาทำการ สำรวจ ราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับค่าที่ดิน และมูลค่าโครงการ (ประมาณค่าบริการทำแผนที่นี้ต่ำกว่า 1,000 บาท/ไร่) นับว่าคุ้มเกินคุ้ม 

 หาฤกษ์ก่อสร้างง่าย ๆ โดยตัวเอง

 หากท่านเป็นผู้ที่เชื่อโชคลาง (มากน้อยไม่ว่ากัน) และไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกในการตามหา พระอาจารย์ ทั้งหลาย มาให้ฤกษ์ให้ยาม ขอแนะนำว่า ท่านอาจจะหาฤกษ์ด้วยตนเองก็ได้ โดยหาซื้อหนังสือโหราศาสตร์ ประเภทสรุป รวบรวมฤกษ์ประจำวันทั้งปี ซึ่งหนังสือพวกนี้ จะออกวางตลาดตอนปลายปีทุกปี ลองอ่าน และหาฤกษ์ด้วยตัวเอง ได้ครับ
เมื่อได้หนังสือนี้มาแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านไม่รู้เรื่อง เพราะศัพท์แสงที่เขาเขียนไม่ยากเย็นอะไร นอกจาก ทราบว่า วันไหนดีสำหรับการก่อสร้างแล้ว ท่านอาจจะมีความรู้อื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย (แต่อย่าไปหลงใหลมากนัก ก็คงจะดีครับ) เพราะงานก่อสร้าง ไม่สามารถที่รอฤกษ์ได้มากมายนัก เดี๋ยวฝนก็ตก คอนกรีตก็ขาดตลาด คนงานก็จะหยุด วุ่นวายมากพอแล้ว หากต้องมารอฤกษ์อีกอย่าง สงสัยจะแย่ครับ 

  ฤกษ์เสาเอกอาคารสมัยใหม่เขานับกันตรงไหน

 ในสมัยโบราณ ฤกษ์ลงเสาเอกก็คือเวลาที่เรานำเสาหลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ จัดเสาให้ ตั้งตรง และเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้ เอาดินกลบหลุมใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกินชั่วยาม แต่ปัจจุบันการสร้างอาคารสมัยใหม่ เปลี่ยนแปลงไปมากมายเหลือเกิน อาคารปัจจุบันต้องมีการตอกเสาเข็ม ต้องมีการเทฐานราก-ทำตอม่อ แล้วจึงจะ ขึ้นเสา โผล่พ้นดินได้ คนหลายคนจึงงง ๆ ว่าแล้วตอนไหนละที่เขาเรียกว่า "ขึ้นเสาเอก" เพื่อจะเอาเวลาที่ดีที่สุด ที่หามาได้ทำพิธีตอนนั้น …. จากการสรุปมากกว่า 20 ปีสามารถสรุปความของ "ฤกษ์" ขึ้นเสาเอกได้ดังนี้
ยึดเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นแรก หรือ เวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกว่า "ฤกษ์เข็มเอก")
ยึดเวลาที่เทคอนกรีตฐานราก (จะทำฐานรากพร้อมตอม่อ) ต้นที่ถูกกำหนด ซึ่งน่าจะเรียกว่า "ตอม่อเอก" หรือ "เสาสั้นเอก"
เวลาที่มีการเทคอนกรีตหล่อเสาอาคารจริง ๆ (ซึ่งอาจจะตั้งครึ่งค่อนปีหลังจากเริ่มทำการก่อสร้าง)
จึงขอให้ท่านทั้งหลายเลือกโอกาสกันตามสบายๆ ตามฤกษ์สะดวกเถอะครับ 

 Basic ขั้นที่ 1 เมื่อคุณไปตรวจงานก่อสร้าง

 การตรวจงานสนามเป็นเรื่องที่ต้องเขียนกันเป็นหนังสือหลายเล่มทีเดียว แต่หากคุณเพิ่งเริ่มเป็น ผู้ตรวจการสนาม มีหลักการพื้นฐาน 5 ข้อ (จากทั้งหมด 643,246,000 ข้อ) ที่คุณอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย
1. อยู่ห่าง ๆ ตัวอาคาร แล้วดูแนวดิ่ง-แนวฉาก ว่าได้แนวได้ระนาบหรือไม่ หากแนวที่ว่า (ทั้งโครงสร้าง ชั่วคราว และโครงสร้างถาวร) ไม่มีปัญหาถือว่าผ่านข้อที่ 1 (กรุณาเดินดูรอบ ๆ อาคาร ไม่ใช่มุม เพียงมุมใดมุมเดียว)
2. ยังคงอยู่ห่างๆ ตัวอาคารต่อไป ใช้ความรู้สึกทางฟิสิกส์ (Physics) ว่าสิ่งที่อยู่หน้าของคุณ น่าจะอยู่ได้ หรือไม่ (ทั้งโครงสร้าง ชั่วคราว-ถาวร) เช็คความสมดุล หากมีอะไรขัดความรู้สึก ต้องตรวจสอบ จากแบบพิมพ์เขียว หรือสอบถามคนทำงาน เพราะอาจมีความผิดพลาด หรือเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ หากไม่มีปัญหา ถือว่าผ่านขั้นที่ 2
3. เดินเข้าใกล้อาคารสังเกตความเรียบร้อยของสถานที่ก่อสร้าง ความสะอาด ตรวจดูความเรียบร้อย ของผิวปูน- ไม้- คอนกรีต หากเป็นที่พอใจ (น่าจะ) แสดงว่าผู้รับเหมามีคุณภาพเพียงพอ ถือว่าผ่านขั้นที่ 3
4. สอบถามหาผู้รับผิดชอบในงานก่อสร้างนั้น แล้วทดสอบถามปัญหาเกี่ยวกับแบบ วิธีกรรม ในการก่อสร้าง ระยะเวลาในการก่อสร้าง (ไม่จำเป็นต้องถามเรื่องราคา และการเบิกจ่ายเงิน) หากงานนั้นมีผู้รับผิดชอบ อยู่ในสถานที่ก่อสร้าง และสอบถามได้คำตอบเป็นที่น่าพอใจ ก็ถือว่าผ่านขั้นที่ 4
5. ถามคนที่มาด้วย (หากมี) ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม ว่าเขาพอใจในงานหรือไม่ หากเขาพอใจ หรือไม่พอใจแต่ล้วนเป็นสิ่งไร้สาระ ก็นับได้ว่าผ่านขั้นที่ หากหลักการที่คุณทำครบเป็นที่พอใจทั้ง 5 ข้อแล้วก็น่าจะสบายใจไปได้ครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าไม่ผ่าน (แม้แต่ข้อเดียว) น่าจะรีบตรวจสอบอย่างอื่น โดยละเอียดทันที


การบริหารงานก่อสร้าง 1 - การบริหารงานก่อสร้าง 2 - การบริหารงานก่อสร้าง 3
Top Page

ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Tel : ( 02 ) 890-4598   Fax : ( 02 ) 465-4560

Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved