HIGH ZONE และ LOW ZONE คืออะไร
ศัพท์คำว่า High Zone
-Low Zone เป็นศัพท์ใหม่ในวงการก่อสร้างปัจจุบัน (แม้จะเป็น ศัพท์ทางวิชาการ มานานแล้ว) จึงทำให้หลายคน เกิดความสับสน ว่ามันคืออะไรกัน แปลตามตัวหนังสือ เป็นภาษาบ้านเรา ก็น่าจะแปลว่า "อาคารส่วน ที่มีความสูงมาก กับอาคาร ส่วนที่มีความสูงน้อย" ซึ่งมีข้อพึงคำนึง หรือสิ่งที่ น่าจัดระบบหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
1.) หากโครงสร้างของอาคารสูงไม่เท่ากัน น่าจะมีการแยกโครงสร้างออกจากกัน หากความสูงต่างกันมาก หรือหาก ความสูงต่างกัน ไม่มาก ตอนก่อสร้าง ก็น่าจะก่อสร้าง แยกออกจากกัน และเชื่อมโครงสร้าง ต่อกันภายหลัง เพราะอาคาร ที่มีความสูงแตกต่างกัน จะมีการทรุดตัว ที่แตกต่างกัน
(Differential Settlement) หากไม่มี การเตรียมการ เรื่องนี้ไว้ โครงสร้างอาจ บิดงอและวิบัติได้
2.) ระบบการขนส่งทางแนวตั้ง (Lift) อาจจะมีการแยกส่วนออกจากกัน Lift บริการใน High Zone จะได้ไม่ต้อง จอดรอ ในชั้นล่าง ๆ ก็จะเกิดความคล่องตัวมากขึ้น
ทำประกันภัยการก่อสร้างอาคาร อย่าลืมอะไร
ตอนนี้การก่อสร้างในโครงการต่าง ๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ "การประกันภัยการก่อสร้าง" ที่เขาเรียกกัน เป็นภาษาฝรั่งว่า Construction All Risk
ซึ่งเจ้าของโครงการ หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง มักจะไม่ค่อยรู้เรื่อง เนื่องจาก เอกสารการประกัน จะใช้ภาษากฎหมายขั้นสูง ๆ และล้วนเป็น ภาษาต่างประเทศทั้งนั้น
ซึ่งเมื่อเกิดอุปัทวเหตุขึ้นมา
ก็มักเรียกร้องเงินทอง ค่าประกัน จากบริษัทรับประกันไม่ได้ เพราะทางบริษัทฯ มักจะอ้างถึงเอกสาร การประกันว่า สิ่งที่เกิดนั้น ไม่รวมอยู่ ในการประกัน (ซึ่งคุณไม่เคยอ่านรู้เรื่อง)
.
ขอแนะนำว่า ก่อนที่จะซื้อประกัน ต้องถามบริษัทประกัน เสมอว่า "รวมความเสียหายจากการ สั่นสะเทือน จากการทำงานหรือไม่" หากเขาไม่รวม ก็ขอให้เขาใส่เสียให้เรียบร้อย
เพราะกว่า 50% ของความเสียหายในงานก่อสร้าง จะเกิดจาก
. ความสั่นสะเทือน ทั้งสิ้น
ทำไม "ความรักจึงคุ้มครองโลก
.และงานก่อสร้าง" ?
แม้ว่างานก่อสร้างจะเป็นอุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีคนเข้าร่วมทำงานจำนวนมากมาย และหลากหลายชนิด
.
งานก่อสร้างเป็นงานที่ต้องทำด้วยมือเป็นหลัก
(Hand Made) ตั้งแต่งานออกแบบ เริ่มแรก จนถึงงาน ทาสีแปรงสุดท้าย ทำให้ความผิดพลาดจากมนุษย์
(Human Error)
ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมทุกคน จะต้องยอมรับ ในสัจธรรมข้อนี้ และต้องพร้อมให้อภัย ถ้ามีความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจใด ๆ เกิดขึ้น การที่คนใด คนหนึ่ง ในวงจรการก่อสร้าง
ปรารถนา ที่จะให้ทุกคนทำงานได้ดังใจตน จะเป็นเรื่อง ที่เป็นไป ไม่ได้ และไม่มีใครอยาก จะทำงานด้วย
. ดังนั้นในการทำงานก่อสร้างจะต้องมี "ความรักและความเข้าใจ" เป็นองค์ประกอบสำคัญเสมอ
ขุดดินลึกแค่ไหนแพงเท่าไร
คำถามนี้ค่อนข้างเป็นคำถามที่ตอบให้ถูกต้องยากที่สุด แต่คนในวงการทุกคน ก็ต้องการคำตอบ เหมือนกับ คำถามที่ว่า "สร้างบ้านเดี๋ยวนี้ราคาตารางเมตรละเท่าไร" เนื่องจากราคาของการขุดดิน หรือการสร้างบ้าน จะแปรเปลี่ยนแตกต่างกันออกไป มากมายถึง 100% - 200% ตามรายละเอียด และสภาวะการสิ่งแวดล้อม
. วันนี้จะลองตอบคำถาม เรื่องการขุดดินนี้ ให้ได้ และขอตอบ (สรุป) ราคาการขุดดินออกเป็น 4 กลุ่มราคา ได้ดังนี้
1. ขุดระดับต่ำกว่า 2.50 เมตร ราคาถูกที่สุดเพราะใช้เข็มไม้ตอกเป็นพืดกันดินถล่มพอไหว หากสภาพพื้นดินเอื้ออำนวย ขุดดินเอียงปรับระดับอาจไม่ต้องมีเข็มไม้ตอกกันดินถล่มก็ยังพอไหว
2. ขุดระดับลึกไม่เกิน 5.00 เมตร ราคาจะแพงขึ้นกว่าแบบแรกเพราะต้องใช้เหล็กพืด
(Sheet Pile) ตอกกันดินถล่ม
3. ขุดลึกไม่เกิน 8.00-10.00 เมตร ราคาแพงขึ้นไปอีกเพราะ Sheet Pile โล้น ๆ ธรรมดาใช้ไม่ได้แล้ว ต้องมีการเสริมโครงสร้างค้ำยันกับ Sheet Pile เข้าไป
4. ขุดลึกเกิน 8.00-10.00 เมตร ราคาแพงที่สุดเพราะต้องใช้ระบบการกันดินถล่มทลายพิเศษ ซึ่งเป็นวิทยาการขั้นสูง ช่างก่อสร้างปกติธรรมดาทำไม่ได้ ต้องให้ผู้ชำนาญการมาปรึกษา
จี้ปูนอย่าให้โดนเหล็กหรือไม้แบบ
ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาพื้นฐานอีกปัญหาหนึ่งที่บรรดา
ช่างก่อสร้าง-ช่างเทคนิค-สถาปนิก-วิศวกร ต่างมองข้าม กันไปหมด
ไม่ทราบว่าเส้นผมที่บังภูเขาเส้นนี้ อาจทำให้เกิดอาคารวิบัติขึ้นมาได้
เพราะการจี้ปูน ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า แล้วไปโดนเหล็กเสริม หรือไม้แบบ
จะทำให้คอนกรีตอันประกอบด้วย หิน-ทราย-ปูน เกิดการแยกตัว ออกจากกัน
หินซึ่งหนักกว่าจะตกลงข้างล่าง น้ำปูนจะลอยขึ้นข้างบน ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า
"คอนกรีตหมูสามชั้น" ทำให้โครงสร้างคอนกรีตที่ออกแบบมา ไม่สามารถรับน้ำหนักได้
ตามต้องการ
. ระวังหน่อยนะครับ
ไม่อยากให้บ้านทรุด-พื้นร้าว
เพราะตู้หนังสือหนัก ๆ ลองทำดังนี้
ลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าตู้หนังสือของท่านที่สูงตั้ง 2-3 เมตร นั้นหนักกว่าซุงไม้ทั้งต้นเสียอีก เพราะซุงไม้ ยังพอจะมีช่องว่างอากาศอยู่ภายในบ้าง
แต่ไอ้เจ้าตู้หนังสือของท่านนั้น อาจจะไม่มีที่ว่างให้ฟองอากาศ สักกะนิดเดียวเลยก็ได้ ดังนั้นหากท่านมีห้องสมุดในบ้าน หรือตู้หนังสือใหญ่โต (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สูง ๆ ) พื้นห้องสำหรับบ้านพักอาศัย ถูกออกแบบไว้ให้รับน้ำหนักได้ 150 กิโลกรัม/ตารางเมตร อาจจะหน้ามืด ต้องมารับน้ำหนักตู้หนังสือที่รักของท่านตั้ง 500-1,000 กิโลกรัม/ตารางเมตร
อาการหรือปฏิกิริยาที่เกิด ก็คือ พื้นรับน้ำหนักเกินความสามารถของมัน อาจจะแอ่นหรือแตกร้าวหรือทรุดลงไปก็ได้
ทางแก้คงจะไม่ใช่ท่านเลิกอ่านหนังสือ
หรือเอาหนังสือไปขายแจ๊ก (ไทย) ขวดมาขาย ซึ่งคงจะทำให้ท่าน ไม่มีความสุขแน่นอน ทางแก้มีอยู่ 2 วิธี คือ
1. ท่านออกแบบ (หรือสั่งให้ออกแบบ) เตรียมว่าบริเวณใดท่านจะเป็นห้องสมุด หรือบริเวณใด ที่ท่านน่าจะจัดวาง ตู้หนังสือ เพื่อจะได้เผื่อโครงสร้างไว้ให้แข็งแรงเพียงพอ
. แต่วิธีนี้คงเป็นเรื่องยาก เพราะท่านอาจจะไม่ได้คิดไว้ หรือซื้อบ้านจัดสรร หรือซื้อบ้านต่อจากคนอื่นมาอีกที
2. ท่านพยายามหาว่าพื้นห้องของท่านนั้นมีบริเวณใดที่อยู่ใกล้คาน (ส่วนใหญ่มักจะอยู่บริเวณผนังห้อง) ซึ่งพื้นห้องบริเวณนั้น น่าที่จะรับน้ำหนักได้มากกว่าพื้นกลางห้อง เพราะสามารถถ่ายเทน้ำหนัก จากพื้นสู่คาน - เสา ได้ เร็ว - สั้นกว่า แต่ก็ไม่ใช่วางใจว่าอยู่บริเวณคานแล้ว ท่านจะใส่น้ำหนักลงไป เท่าใดก็ได้ เพราะหากมีน้ำหนักมากเกินไป คราวนี้จะไม่เกิดอาการพื้นเอียง พื้นร้าว พื้นทรุดแล้ว แต่จะเกิดอาการแบบใหม่ที่เขาเรียกกันว่า
"บ้านพัง" ครับ
|