ระวัง ระวัง
ผู้รับเหมาใจดี จะแถมพื้นคอนกรีตให้ท่านหนาเกินไป
ในการออกแบบทั้งหลายทั้งมวล วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบพื้นคอนกรีตไว้หนาเพียงพอแล้ว
อย่าให ้ผู้รับเหมา เทพื้นคอนกรีต
ให้หนาเกินกว่า ที่แบบกำหนด ด้วยความใจดี (หรือผิดพลาด) แล้วมา บอกคุณว่า "แข็งแรงขึ้น" เพราะนั่น
อาจเป็นสาเหต ุให้อาคารของคุณ พังลงมาได้
เพราะคอนกรีต
เป็นวัสดุ ที่ หนักมาก 1 ลูกบาศก์เมตร หนักตั้ง 2,400 กิโลกรัม หากเขาเทคอนกรีต หนาขึ้นเพียง 5 เซนติเมตร คิดเป็น น้ำหนัก ที่โครงสร้าง ต้องรับ เพิ่มขึ้นถึง 2,400 x 0.05 = 120 กิโลกรัม
และตามกฎหมาย บ้านพักอาศัย จะออกแบบ ให้รับน้ำหนักได้เพียง 150 กิโลกรัม / ตร.ม. พอมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นตั้ง 120 กิโลกรัม ก็เลยเหลือความแข็งแรง
ที่โครงสร้างจะรับได้อีกเพียง 150-120 = 30 กิโลกรัม
เท่านั้นเอง
ท่านผู้รับเหมาที่รัก
การชักเหล็กออกจากโครงสร้าง
ด้วยสูตร 5 ชัก 1 ของท่านนั้น รู้หรือเปล่าว่าท่านจะได้กำไรกี่สตางค์?
สูตร 5 ชัก 1 หมายถึงการใช้เหล็กเส้นน้อยกว่าที่แสดงในแบบก่อสร้าง 20% หรือเหล็กทุก ๆ 5 เส้น จะเอาออก 1 เส้น
ตามประสบการณ์
(ที่ชั่วร้าย) ของผู้รับเหมาท
ี่ผ่านมา โครงสร้างก็ยังคงสามารถอยู่ได้ (โครงสร้าง เอา Safety
Factor) ที่กำหนดในกฎหมายมาใช้
ในบ้านขนาด 3 ห้องนอนหลังหนึ่ง มีพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 200 ตารางเมตร โดยราคาค่าก่อสร้าง จะประมาณ 1,600,000 -2,200,000 บาท จะใช้เหล็กเส้นทั้งสิ้น
ประมาณ 6,000 กิโลกรัม
หากผู้รับเหมา ใช้สูตร ชักเหล็กออก (โกงเหล็ก) แบบ 5 ชัก 1 จะสามารถ โกงเหล็กได้ = 6,000 / 5 = 1,200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 15 บาท
หรือเป็นเงินทั้งสิ้น = 1,200 x 15 บาท = 18,000 บาท ซึ่งน้อยมาก (ประมาณ 1% ของค่าก่อสร้างทั้งหมด) จะเห็นได้ว่า ท่านประหยัด (โกง) ได้นิดเดียว
. อย่าโกงเลยนะครับ
เลือกใช้โครงสร้างระบบ Post Tension ห้ามมีน้ำขังที่พื้นเด็ดขาด พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ที่จะมีการดึงเหล็กเส้น ที่อยู่ในคอนกรีต ภายหลังเทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อให้โครงสร้าง สามารถรับแรงได้มากว่าปกติ จนทำให้โครงสร้างพื้น เห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับ ตามช่วงเสา พื้นระบบ Post Tension นี้ดี เพราะก่อสร้างไม่ยากนัก (ง่ายกว่าระบบมีคานเยอะ) และลดค่าใช้จ่าย ในงานโครงสร้างได้พอสมควรทีเดียว
แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อห้ามสำคัญก็คือ หากมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณพื้นระบบนี้ และน้ำสามารถซึมผ่าน เข้าไปสู่ เหล็กเส้นแรงดึงสูง และเหล็กเส้นนั้น เป็นสนิมแล้ว เส้นเหล็กนั้นเกิดขาด - วิบัติขึ้นมา
. ตึกพังทั้งหลังเชียวนาครับ
ต่อเติมบ้านหรืออาคารใหม่ชิดอาคารเก่าระวังเข็มที่ตอกใหม่ดันไปทิ่มแทงฐานรากเก่าเข้า
การต่อเติมอาคารที่ต้องแยกโครงสร้างเก่ากับโครงสร้างใหม่ออกจากกัน แต่ต้องการให้ ตัวอาคาร วางชิดกัน หรือการก่อสร้างอาคารใหม่
ที่มีเสาใหม่วางชิดเสาอาคารเก่า สิ่งที่น่า ตรวจเช็คเบื้องแรก ก่อนการออกแบบ โครงสร้าง และต้องสอบเช็คอีกครั้ง ก่อนการตอกเสาเข็ม อาคารใหม่ คือการหาแนวขอบเขต ของฐานราก
อาคารเดิม ว่าแผ่ออกมากว้างแค่ไหน เพราะถ้าออกแบบผิดพลาด หรือไม่มีการตรวจสอบ ที่สถานที่ก่อสร้าง ( อาจต้องขุดดิน ตรวจสอบ ) เข็มอาคารใหม่ อาจตอกทิ่มลงบนฐานรากอาคารเก่า
(ที่แผ่ออกมา)
รับรองว่า อาคารใหม่จะไม่ได้สร้าง แถมอาคารเก่าจะต้องได้สร้างใหม่ด้วยละครับ
อย่าเสริมพื้นให้สูงขึ้นโดยวิธีเทคอนกรีตทับ
ท่านที่ต้องการดัดแปลงต่อเติมบ้านของตน โดยการดัดแปลงนั้นบางส่วนท่านต้องการเสริม ความสูง ของพื้นขึ้นมา (เช่นอยากให้ห้องครัว
ที่ต่ำกว่าห้องทานข้าว ให้มีความสูงเท่า ๆ กัน) กรุณาอย่าเทคอนกรีต เพื่อเสริมความหนา (ความสูง) เด็ดขาด เพราะคอนกรีตที่ท่านเทสูงขึ้นเพียง 10 ซม. นั้นหนักถึง 240 กิโลกรัม/ตารางเมตร
(คอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร หนักถึง 2.4 ตันครับ) ในขณะที่วิศวกรโครงสร้าง ออกแบบ ให้พื้นนั้นรับน้ำหนักได้เพียง 150 กก./ตร.ม.
.
เทปุ๊ปอาจพังปั๊บเลยครับ
แต่หากคุณต้องการเสริมระดับจริง ๆ ขอให้คิดถึงวัสดุที่เบา ๆ เช่นไม้หรืออิฐมอญ เป็นต้น ทางที่ดี และปลอดภัย ที่สุดก็คือ ปรึกษาสถาปนิก-วิศวกรหน่อยเถอะครับ
เจาะรูพื้นคอนกรีตให้เนี๊ยบ ๆ ทำอย่างไร
หากคุณต้องการเจาะพื้นคอนกรีตหนา ๆ สักจุด (ส่วนใหญ่เกิดเพราะคุณเองนั่นแหละ ที่ลืมเว้นช่องว่าง Block out เผื่อท่อเดินผ่านพื้นเอาไว้ ตอนถ่ายเทคอนกรีต)
ถ้าคุณให้จับกังไปทุบพื้นนั้น โครงสร้างของคุณ ก็จะชอกช้ำ สั่นสะเทือน รูที่เจาะออกมา ก็ไม่เรียบร้อย ต้องแต่งเติมกันอีกมากมาย เสียเวลา (และเสียความรู้สึก)
.
หากคุณพอจะมีงบประมาณบ้าง แนะนำให้ติดต่อบริษัททดสอบคอนกรีต เขามาเจาะให้
(Coring Technique) เขาจะมีเครื่องมือพิเศษ สำหรับเจาะคอนกรีต ให้เป็นรูปทรงกระบอก
.
เนี๊ยบเชียวครับ
แต่หากพื้นคุณเป็นโครงสร้าง Post Tension ก็ช่วยระวังจุดที่เจาะหน่อยนะครับ ว่าไม่ไปตัดแนว Tendon
. เดี๋ยวตึกจะพังทั้งหลัง เพราะต้องการรูกว้างแค่ 4 "
... อ่านต่อ
|