เสาเอ็นทับหลัง ต้องเทด้วยคอนกรีต ไม่ใช่ปูนทรายนะครับ
เสาเอ็นทับหลัง นับได้ว่าเป็นส่วนของโครงสร้างส่วนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ บีบรัด รับน้ำหนักของผนังก่ออิฐ ดังนั้นเสาเอ็นทับหลัง จึงต้องเป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ใช่ปูนทรายเสริมเหล็ก ที่ช่างปูน หลายคน นิยมกัน (โดยเอาปูนทราย ที่ใช้ก่ออิฐนั่นแหละ มาเทเสาเอ็นทับหลัง) ช่วย ๆ กันดูแลด้วยเถอะครับ
เดี๋ยวใครเขามาเห็นเข้า แล้วสั่งทุบผนังคุณทั้งตึก ละก็ อย่าหาว่าไม่บอกกันล่วงหน้าไม่ได้นะครับ
อย่าเปลี่ยนพื้นห้องแถวชั้นล่าง ให้เป็น Slab on Beam
กว่า 99.99% ของห้องแถวในประเทศไทย พื้นชั้นล่างจะเป็น Slab on Ground คือพื้นชั้นล่าง ถ่ายน้ำหนัก ของพื้น ลงบนดินโดยตรง
(เวลาดินทรุดพื้นห้องก็ทรุดตาม เกิดอาการแอ่นและแตกร้าว) แต่คุณก็อย่าดัน ไปทุบ พื้นเก่าทิ้ง แล้วหล่อพื้นขึ้นใหม่ ให้พื้นไปวางบนคาน
(Slab on Beam) เพื่อป้องกันทรุด เชียวนา
เพราะทั้งคาน- ตอม่อ- ฐานราก- เสาเข็ม ไม่ได้เตรียมตัวสำหรับน้ำหนักโครงสร้าง- น้ำหนักจร
(Life Load & Dead Load) ไว้ อาจทำให้ อาคารคุณวิบัติเอาง่าย ๆ (แล้วชวนห้องอื่นเขาวิบัติตาม
เพราะโครงสร้างห้องแถวนั้น ต่อเนื่องกันทุก ๆ ห้อง)
ใช้เสาเข็มเจาะแห้ง
(Bore Pole Dry Process) อย่าเสียดายค่าทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม
(Seismic Test)
ปัจจุบันเสาเข็มเจาะแห้งเริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง หลังจากมีกฎหมายควบคุมการรบกวน ต่อบ้านข้างเคียง ของการใช้เสาเข็มตอก
แม้ว่าเสาเข็มเจาะ จะแพงกว่าเสาเข็มตอก ทำให้ต้องเสียงบประมาณ ในการก่อสร้าง มากขึ้นก็ตาม แต่ขอแนะนำให้เพิ่มงบประมาณขึ้นอีกนิดหน่อยสัก 400-800 บาท/ต้น
ที่น่าจะทำการทดสอบ ความสมบูรณ์ของเสาเข็มนั้น โดยวิธี Seismic Test (การเคาะหัวเสาเข็ม และส่งสัญญาณเสียง- ความสะเทือน ตรวจสอบ) เพราะเสาเข็มเจาะแห้ง
ยากต่อการควบคุมคุณภาพ ในขณะทำงาน และมีผู้รับเหมาเสาเข็มเจาะ มวยวัด อาละวาดอยู่ทั่วไปขณะนี้
เสาเข็มสระว่ายน้ำรับแรงดึงด้วย ดังนั้นอย่าลืม Dowel Bar
สระว่ายน้ำมักออกแบบให้เสาเข็มรับทั้งแรงอัด
(Compression) และแรงดึง (Tension) ในเสาเข็ม ต้นเดียวกัน แรงอัดสำหรับใช้งาน
เมื่อมีน้ำเต็มสระ มีน้ำหนักกดลงที่เสาเข็ม แต่แรงดึงมีไว้เมื่อไม่มีน้ำในสระ ป้องกันสระลอยขึ้นมา แต่เสาเข็มจะไม่สามารถรับแรงดึงได้ หากไม่มีเหล็กของเสาเข็ม เกี่ยวขึ้นมาเกาะรัด
กับโครงสร้างของตัวสระ
. ผู้ควบคุมงานและผู้รับเหมาะทั้งหลายกรุณาอย่าลืมนะครับ
อย่าลืมเสาเข็มแต่ละต้นน่าจะห่างกัน ไม่น้อยกว่า2.0
เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลาง
เข็ม
เป็นปัญหาพื้นฐานที่เรียนหรือรู้กันมาตั้งแต่ต้นของคนในวงการก่อสร้างแต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่า เรื่องนี้ เกิดความผิดพลาดขึ้นบ่อย ๆ
(คงเป็นประเภทเส้นผมบังภูเขา) ส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยน ขนาด- ความยาว หรือชนิดของเสาเข็ม หรือมีการปรับเปลี่ยนลักษณะฐานรากหรืออาคาร
.
จึงขอเรียนเตือนความจำ ไว้ตรงนี้อีกครั้งว่า อย่าลืมนะครับ เพราะหากมวลดินรอบ ๆ เสาเข็มมีไม่เพียงพอ (เพราะเสาเข็มตอกชิด เกินไป) เสาเข็มจะมีแรงฝืด
(Friction) น้อยลง
แต่จะน้อยลงเท่าไร ก็แล้วแต่ความผิดพลาดของท่านนั้น มีมากเท่าไรละครับ
พื้นระบบ Post Tension คืออะไร
อย่าถือว่าเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายวิศวกรเลยครับ เพราะมีคนอีกมากมายไม่ทราบเลยว่า
ไอ้เจ้าพื้นคอนกรีต บาง ๆ แถมไม่มีคานรัดหัวเสา ที่เขาใช้สร้างอาคารสูง ๆ นั้นคืออะไร นอกจากความรู้สึกอย่างเดียว ว่า "เสียวดีจัง"
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีต ที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้นเหล็กนั้น ให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น (เหมือนเมื่อเด็ก ๆ เราเล่นเอากระดาษหรือไพ่หลาย ๆ แผ่น มาเจาะรูตรงกลาง
แล้วร้อยหนังสติ๊กเข้าไป
เมื่อดึงหนังสติ๊กให้ตึง ทำการผูกยึดที่หัวท้าย แม้จะปล่อยมือออกจากกัน แผ่นกระดาษหรือไพ่ปึกนั้น ก็ไม่แตกกระจายออกจากกัน คงรูปเป็นปึกไว้เหมือนเดิม) การที่มีเหล็กแรงดึงสูงเสริม และดึง อยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้าง ชนิดนี้ มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็น ต้องมีคานมารัดหัวเสา เพื่อการถ่ายน้ำหนักจากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย
แต่ในความก้าวหน้าและความดีนี้ก็มีความน่ากลัวแฝงอยู่ เหมือนเลี้ยงเสือไว้เฝ้าบ้าน หากเลี้ยงผิดวิธี
. เสือจะคาบไปแด
เพราะหากเปรียบเหล็กเส้นรับแรงดึงที่ยึดเหนี่ยวมวลคอนกรีต
เหมือนหนังสติ๊กรัด ตรึงปึดกระดาษ
หากหนังสติ๊กขาดลง
ไพ่ทั้งสำรับก็แตกกระจายลงสู่ดิน
. อาคารที่ทำด้วยระบบ Post Tension นี้ก็เช่นกัน หากคุณทุบพื้น หรือเจาะพื้น หรือต่อเติมอาคาร แล้วไปทำให้เหล็กรับแรงดึงนี้ ขาด
อาคารคุณก็จะแตกกระจาย เหมือนกับไพ่ทั้งสำรับแตกจากกัน ต่างกันเพียงแต่ว่า ไพ่คอนกรีตสำรับนี้ มีคุณยืนอยู่ภายในด้วย
เท่านั้นแหละครับ
ทำระบบ Pre-Cast นั้นมักผิดพลาดตรงไหน
 หากใครติดตามร้อยพันปัญหามาแต่เล่มแรก ตามปัญหา ข้อที่ 19 เคยบอกไว้ว่า "หากไม่แน่จริง อย่าทำ
Pre-Cast" ซึ่งเท่าที่พบมา มีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ อยู่ 4 ประการคือ
1. ทำ Shop Drawing ไม่ละเอียดเพียงพอ เมื่อนำมาติดตั้งแล้วไม่พอดี และทำให้งานระบบอื่น ๆ เช่น ประปา ไฟฟ้า มีปัญหา
2. เพราะ Pre-Cast เป็นแผ่นคอนกรีตที่หนักมาก (บางชิ้นหนักหลายตัน) การขนส่งทางตั้งทำยากมาก หากท่อแต่ละชิ้นไม่พอดีจริง ๆ จะติดตั้งไม่ได้
3. เพื่อต้องการให้ติดตั้งได้ง่าย จำเป็นที่ต้องมีช่องว่างเผื่อไว้ระหว่างแผ่น หรือระหว่างโครงสร้าง การอุดแต่งรอยเหล่นั้นทำได้ยากและราคาแพงมาก
4. หาก Pre-Cast ติดต่อ ๆ กันเป็นแผงโต ๆ ไม่มีทางที่จะให้ได้ระนาบเสมอกันหมด ยามแดดส่องกระทบ จะเห็นเป็นลูกคลื่น
. น่าเกลียดเชียว (แม้บางคนพยายามจะใช้สีระเบิดพ่นทับไปก็ยังช่วยอะไรไม่ได้)
5. การติดตั้งประตูหรือหน้าต่างเข้ากับแผ่น
Pre-Cast มีปัญหาเกือบทุกอาคาร เพราะตามปกติวิชาช่าง จะเอาของนิ่ม ประกบกับของแข็ง (เช่นปูนฉาบกับอะลูมิเนียม) จึงจะให้รอยต่อนั้นสนิทได้ดิ่งฉาก แต่การเอา อะลูมิเนียมมาต่อกับ
Pre-Cast เป็นการเอาของแข็งมาประกบกับของแข็ง การปรับแต่งทำได้ยากมาก (จนเรียกว่าเป็นไปไม่ได้)
จากเหตุดังกล่าว หลายอาคารจึงประสบปัญหางานก่อสร้างล่าช้า และเกินงบประมาณ เพราะความผิดพลาด หรือความไม่พร้อม (ความไม่แน่จริง) ของผู้ทำ
Pre-Cast
ทั้งนี้ยังจะไม่พูดถึงอันตรายอันเกิดจากระบบ
Pre-Cast (เช่น แผ่นคอนกรีตหนัก 2 ตันถูกยึดด้วยเหล็ก 9 มม. 2 เส้น, ไม่มีการกันชื้นของโครงเหล็กยึด นานเข้า ๆ เหล็กเป็นสนิมแล้วเหล็กยึดนั้นก็ขาด ฯลฯ)
ซึ่งจะคุณให้ฟังต่อไปครับ
... อ่านต่อ
|