ถนนที่ปูด้วยก้อนบล๊อคคอนกรีต น่าจะทำอะไรหลังจากปูแล้ว 1 ปี
ตอนนี้ถนนตามโครงการบ้านพักอาศัยนิยมใช้ปูด้วยก้อนบล๊อคตัวหนอนคอนกรีต เพราะว่าสวยงาม นุ่มนวล ทำง่าย และราคาไม่แพง
.
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อมีรถวิ่งผ่าน หรือมีคนเดินมาก ๆ พื้นดิน และทราย ที่ปรับระดับไว้ เกิดการยุบตัวไม่เท่ากัน
ก้อนบล็อคก็จะกระโดกกระเดก ไม่น่าดู จึงแนะนำ
ให้เตรียมการ และเตรียมใจก่อนไว้ว่า เมื่อใช้ถนนที่งดงามนี้แล้วสัก 1-2 ปี น่ามีการรื้อ และปรับพื้น ทราย
รองก้อนบล็อคใหม่ การปรับระดับครั้งใหม่ ทำเพียงครั้งเดียวก็พอ
เพราะหลังจากนั้น การทรุดตัว ของดิน - ทรายรองพื้นน่าจะคงตัวแล้ว แลดูสวยงามไปอีกนาน
ทำหลังคาโครงสร้างไม้ อย่าเสียดาย "เหล็กประกับ"
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อาจเพราะตอนนี้ใคร ๆ ก็ใช้โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตกันหมดแล้ว ช่างไม้ (ที่มีอาชีพประจำเป็นกสิกร)
และสถาปนิก-วิศวกร (ที่ชอบออกแบบแต่ตึกโต ๆ ) จึงลืมไปว่า โครงหลังคา ที่ทำด้วยไม้ ในปัจจุบันไม่สามารถเข้าไม้
ไห้แนบเนียบเหมือนช่างโบราณ การตอกตะปู เพื่อยึดไม้ 2-3 แผ่น
เข้าด้วยกัน แข็งแรงไม่พอ ขอให้ใช้เหล็กประกับเข้าประกับช่วยตามรอยต่อนั้นด้วยเถอะครับ (หากคุณไม่รู้ ว่าเหล็กประกับคืออะไร ก็ลาออกจากการเป็นช่างไม้- สถาปนิก-วิ ศวกร เถอะครับ
. แล้วแผ่นดินจะสูงขึ้น)
จี้ปูนอย่าให้โดนเหล็กหรือไม้แบบ
ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาพื้นฐานอีกปัญหาหนึ่งที่บรรดา ช่างก่อสร้าง-ช่างเทคนิค-สถาปนิก-วิศวกร ต่างมองข้าม กันไปหมด ไม่ทราบว่าเส้นผมที่บังภูเขาเส้นนี้
อาจทำให้เกิดอาคารวิบัติขึ้นมาได้ เพราะการจี้ปูน ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า แล้วไปโดนเหล็กเสริม หรือไม้แบบ จะทำให้คอนกรีตอันประกอบด้วย หิน-ทราย-ปูน เกิดการแยกตัว ออกจากกัน
หินซึ่งหนักกว่าจะตกลงข้างล่าง น้ำปูนจะลอยขึ้นข้างบน ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า "คอนกรีตหมูสามชั้น" ทำให้โครงสร้างคอนกรีตที่ออกแบบมา ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ตามต้องการ
. ระวังหน่อยนะครับ
หาพื้นมีรอยร้าวจะทดสอบอย่างไร
คำว่า พื้น ในที่นี้หมายถึง โครงสร้างพื้น ไม่ใช่ วัสดุปูพื้น ส่วนรอยร้าวที่เกิดขึ้น ก็คือรอยร้าวที่เกิดขึ้น บนโครงสร้างพื้น อันแสดงว่า โครงสร้างอาคารของคุณ กำลังมีปัญหา การจะเข้าไปตรวจสอบว่า ทำไมถึงร้าว บางครั้งเป็นเรื่องยาก เพราะคอนกรีตถูกหล่อและแข็งตัวแล้ว ไม่มีทางตรวจสอบองค์ประกอบ ภายใน เช่น ชนิดของเหล็ก- ขนาดของเหล็ก-จำ
นวนเหล็ก- การผูกเหล็ก- สภาพของคอนกรีต ได้
ถ้าท่านเป็นผู้ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบรอยร้าวนั้น วิธีการที่ดีที่สุดและทุกคนยอมรับได้ที่สุด (โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เจ้าของโครงการ) คือ การทดสอบด้วยการเอาน้ำหนักจริง ๆ ขึ้นไปวาง ซึ่งอาจทำ (เอง) ได้ 3 วิธีคือ
1. ใช้ถุงปูนวางบนพื้นทดสอบ (หาง่ายเพราะปูนถุงแต่ละถุงมีน้ำหนักกำกับไว้แน่นอน แต่ราคาอาจแพง เพราะปูนอาจเสียหายได้)
2. ใช้ถุงปุ๋ยบรรจุทรายวางบนพื้นทดสอบ (ยากขึ้นมานิดนึง เพราะต้องเอาทรายใส่ถุง แล้วชั่งน้ำหนัก แต่ละถุงก่อน
อาจเลอะเทอะเพราะผงทรายหล่นร่วงบ้าง แต่ราคาถูกที่สุด)
3. กั้นขอบพื้นบริเวณที่จะทดสอบและใส่น้ำลงไป (ยาก เพราะต้องเตรียมการนาน แพง เพราะต้องเสีย ค่าใช้จ่าย ในการก่อเสริม (พร้อมฉาบปูนอย่างดี) แต่นอกจากจะทดสอบน้ำหนักแล้ว ยังตรวจสอบ การรั่วซึมได้อีก)
ลองเลือกวิธีที่เหมาะสมดู
แต่ว่าขอให้ผ่านวินิจฉัย- วิธีการ- น้ำหนักที่ จะทดสอบจากวิศวกร ผู้ออกแบบ ก่อนเสมอ
วางพื้นสำเร็จ หากไม่อยากให้พังง่าย ๆ
อย่าลืม Shear Steel เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะน่าเชื่อเท่าไรที่ว่ากว่า 50% ของการวางแผ่นพื้นสำเร็จแบบท้องเรียบของบ้านเรา มีการจัดวาง ผิดทั้งหมด เพราะเกิดปัญหาเส้นผม
(หรือความโลภเล็ก ๆ น้อย ๆ ) บังภูเขา
เนื่อจาก ไม่มีการ เสียบเสริมเหล็กเส้นเล็ก ๆ จากแนวคานที่วางพื้นสำเร็จหักงอเข้าสู่แผ่นพื้น (ดูภาพประกอบ) เรื่องนี้ เป็นเรื่อง ที่ Serious ทีเดียว
เพราะเคยเป็นกรณีศึกษา "ตึกถล่ม" มาแล้ว
ขอร้องเถอะครับ อย่าประหยัด
เศษเหล็กส่วนนี้ไปแลกกับชีวิตคน
อีกหลายคนเลย
ก่อสร้างในตรอกซอยแคบ ๆ อย่าใช้เหล็ก SD 40
อ่านดูแล้วไม่เห็นน่าจะเกี่ยวข้องกันเลย แต่ความจริงแล้วของสองสิ่งที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะเหล็กข้ออ้อย SD 40 จะมีความแกร่งมาก เวลาเขาส่งเหล็กพวกนี้จะขนส่งจากโรงงาน
โดยไม่หักงอทบกัน ทำให้ต้องใช้รถขนาดยาวใหญ่ หากตรอกซอย ที่ท่านก่อสร้างนั้นแคบเกินไป รถขนาดยาวใหญ่นั้น ไม่สามารถ หักเลี้ยวได้ แน่นอนที่สุดท่านไม่สามารถขนส่งเหล็ก SD 40
เข้าสู่สถานที่ก่อสร้างได้ แล้วท่านจะก่อสร้าง ของท่าน อย่างไรไม่ทราบ
... อ่านต่อ
|