Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานโครงสร้าง 1
งานโครงสร้าง 1 - งานโครงสร้าง 2 - งานโครงสร้าง 3 - งานโครงสร้าง 4 - งานโครงสร้าง 5 - งานโครงสร้าง 6


คอนกรีตผสมโม่มีความแข็งแกร่งซักเท่าไรกัน?
อย่าสุ่มสี่ สุ่มห้า เปลี่ยนพื้นสำเร็จ กับพื้นหล่อกับที่.. พังแน่นอน ?
เสาเข็มมีกี่อย่าง แล้วจะเลือกใช้อย่างไร?
ระวังหล่อระดับเสาผิดนิดเดียว พื้น Flat Slab ของท่าน …. จะพังทลาย
วางพื้นสำเร็จ หากไม่อยากให้พังง่าย ๆ … อย่าลืม Shear Steel
 เหล็กข้ออ้อย เขาวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกันตรงไหน?
 ไม่แน่จริง…อย่าทำ PRE-CAST!!


 คอนกรีตผสมโม่มีความแข็งแกร่งซักเท่าไรกัน?

 ตอนนี้ใครก็ชอบใช้คอนกรีตผสมเสร็จ หรือที่เรียกกันว่า Ready Mixed เวลาจะใช้ ก็เปิดดู ข้อกำหนด ของผู้ออกแบบ ว่าให้ใช้ ความอัดแกร่งเท่าไร ซึ่งส่วนใหญ่จะบอกเป็นหน่วย KSC. (กิโลกรัม ต่อหนึ่ง ตารางเซนติเมตร) เช่นบอกเป็น 240 KSC. หรือ 280 KSC. หรือ 320 KSC. เป็นต้น ซึ่งมันง่าย จนหลาย ๆ คน ลืมกันไปหมดแล้วว่า เจ้าคอนกรีต ที่ผสมโม่ตัวเล็ก ๆ แบบสูตร 1 : 2 : 4 โดย ปริมาตร (ใช้ปูน Portland ขนาด 6 ถุงครึ่งหรือ 7 ถุงต่อ ลบม.) เดิม ๆ นั้น มันมีกำลังอัดเท่าไร… ก็เลยบอกไว้กันลืมว่า โดยประมาณ ที่ผสมแบบธรรมดา ๆ คอนกรีตผสมโม่ จะมีกำลังอัด เท่ากับ 155-175 KSC. เท่านั้นเอง…. อย่าไปใช้ สุ่มสี่สุ่มห้า แทนเจ้า 240-280-320 KSC. เท่านั้นเอง…. เข้าเชียวนา 

 อย่าสุ่มสี่ สุ่มห้า เปลี่ยนพื้นสำเร็จ กับพื้นหล่อกับที่.. พังแน่นอน ?

 เป็นเรื่องที่น่าเศร้าไม่น้อยเลย ว่าผู้รับเหมาบ้านเราหลายคนทำให้เกิดอาคารวิบัติ โดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ โดยการ เปลี่ยนแปลง แบบวิศวกรรมโครงสร้าง ของพื้น จากพื้นหล่อกับที่ธรรมดา ไปเป็นพื้นสำเร็จ เพื่อการทำงาน ที่ง่ายกว่า… และบางทีก็เปลี่ยนจาก ระบบพื้นสำเร็จ ไปเป็นพื้นหล่อกับที่ ยามที่หาพื้นสำเร็จ ตามแบบไม่ได้ โดยมักจะบอกกับเจ้าของอาคารว่า… "เหมือนกัน"
ธรรมชาติของพื้นทั้งสองระบบนี้แตกต่างกันมาก และทำให้อาคารของท่านพังลงมาได้ง่าย ๆ … หากลองวิเคราะห์ถึงพื้นฐาน ของการรับแรงในคานดู จะเห็นได้ถึงความแตกต่าง อย่างเด่นชัด พื้นสำเร็จ เป็นการวางแผ่นพื้น ลงบนคานสองด้าน คือหัวและท้าย สมมุติว่าพื้นทั้งผืนนั้น ขนาด 6 x 6 เมตร รวมเป็นพื้นที่ 36 ตร.ม. ต้องการให้รับน้ำหนักได้ ตร.ม. ละ 200 กก. ทำให้จะต้องรับน้ำหนักได้ = 36 x 200 = 7,200 กก. และน้ำหนัก 7,200 กก. นั้นจะถ่ายลง บนคานหัวท้าย สองข้าง คานหัวท้าย จะแบ่งน้ำหนักกัน รับตัวละ = 7,200/2 = 3,600 กก. โดยที่คานด้านข้าง อีกสองตัว อาจจะไม่ได้รับแรงกดอะไรเลย ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเท่านั้น…. เมื่อเปลี่ยนพื้นสำเร็จ เป็นพื้นหล่อกับที่ การถ่ายน้ำหนัก จะถ่ายลงยังคานทั้ง 4 ตัว (ด้าน) ทำให้คาน แต่ละตัว ต้องรับน้ำหนัก = 7,200/4 = 1,800 กก. คานด้านข้างทั้งสอง ที่ออกแบบ ไม่ให้รับน้ำหนักอะไรเลย ก็ต้องมารับน้ำหนัก 1,800 กก. ทำให้คานนั้นหักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีพื้นต่อเนื่อง ทางด้านข้างอีก คานที่ไม่ได้ออกแบบมา ให้รับน้ำหนัก อาจจะต้องรับน้ำหนักถึง 3,600 กก. ทีเดียว ส่วนคานด้านหัวท้าย ออกแบบมาให้รับน้ำหนัก 3,600 กก. กลับมีน้ำหนักลงเพียง 1,800 กก. ซึ่งอาจจะทำให้ เกิดปัญหาอื่น ๆ ต่อเนื่องได้
ทำนองเดียวกัน หากเปลี่ยนพื้นหล่อกับที่ธรรมดามาเป็นพื้นสำเร็จ คานที่ออกแบบหัวท้าย รับเฉลี่ย 4 ส่วน ต้องมารับเฉลี่ยเพียง 2 ส่วน ก็จะรับน้ำหนักมากไป และจะเกิดการวิบัติได้ (ออกแบบไว้รับได้ 1,800 กก. ต้องมารับ 3,600 กก.) 

 เสาเข็มมีกี่อย่าง แล้วจะเลือกใช้อย่างไร?

 สาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกได้เป็นสำคัญ 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ (ส่วนเสาเข็ม พิเศษอื่น ๆ เช่น Micro Pile นั้น หากไม่ใช่วิศวกรก็ไม่น่าจะไปสนใจ)… เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะเอง ก็ยังแยกออกได้ เป็นอย่างละอีก 2 ประเภท ซึ่งโดยสรุปรวม วิธีการทำงาน และจุดดีจุดด้อย น่าจะสรุป พอเป็นสังเขป ได้ดังต่อไปนี้ :
1. เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่าง ๆ กัน บางทีก็เป็นสี่เหลี่ยม บางทีก็เป็นหกเหลี่ยม บางทีก็เป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่าง จะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอก ก็ตอกลงไปง่าย ๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป
2. เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบแรก เพราะสามารถ ทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดย การปั่นหมุนคอนกรีต ให้เสาเข็มออกมา กลมและกลวง เวลาติดตั้ง ส่วนใหญ่ จะขุดเป็นหลุมก่อน แล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับ ที่ต้องการ จึงจะเริ่มตอก ทำให้มีส่วนของเสาเข็ม ไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลง จากการเคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือน ก็ยังคงอยู่)
3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (แล้วแต่ ระดับ ชั้นทราย) รับน้ำหนักต่อต้น ได้ไม่เกิน 120 ตัน วิธีการคือเจาะดินลงไป (แบบแห้ง ๆ ) แล้วก็หย่อนเหล็ก เทคอนกรีต ลงไปในหลุม… ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการ เคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น
4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึก ๆ แล้วใส่สารเคมีลงไป เคลือบผิวหลุมดิน ที่เจาะ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและดันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึก ๆ (ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกถึงกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย ราคาแพง ส่วนการเลือก ว่าจะใช้เข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตุ ปัญหาก่อน แล้วเปรียบเทียบ ความจำเป็น- ความเป็นไปได้ ของแต่ละระบบ ในแต่ละงาน โดยยึดถือ ข้อหลักประจำใจ ในการพิจารณาดังนี้ :
ก.) ราคา
ข.) บ้านข้างเคียง (มลภาวะ)
ค.) ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน
ง.) เวลา (ทั้งเวลาทำงาน และเวลาที่ต้องรอคอย)
ในการเลือกระบบเสาเข็มนี้ ต้องขอร้องให้วิศวกรออกแบบเสาเข็มและฐานรากหลาย ๆ แบบดู (อย่าเกิน 3 แบบ) ต้องวิเคราะห์รวม (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราคา และเวลา) ของเสาเข็ม และฐานราก จึงจะใช้ เป็น ข้อยุติได้ (หลีกเลี่ยง เสาเข็มราคาถูก ทำเร็ว แต่ทำให้ฐานรากราคาแพงและล่าช้า ทำให้ทั้งโครงการ ล่าช้าไปหมด) 

 ระวังหล่อระดับเสาผิดนิดเดียว พื้น Flat Slab ของท่าน …. จะพังทลาย

 พื้นระบบ Flat Slab บริเวณหัวเสาจะมีแรงมากระทำหนักมาก หากท่านหล่อระดับเสาผิดพลาดให้สูงเกินไป เวลาหล่อพื้น จะทำให้เนื้อพื้นตรงนั้นบางกว่าที่คำนวณไว้ ในขณะที่ยังต้องรับแรงกระทำเท่าเดิม พื้นของท่าน อาจหลุดทลายลงมาง่าย ๆ 

 วางพื้นสำเร็จ หากไม่อยากให้พังง่าย ๆ … อย่าลืม Shear Steel

 เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะน่าเชื่อเท่าไรที่ว่ากว่า 50% ของการวางแผ่นพื้นสำเร็จแบบท้องเรียบของบ้านเรา มีการจัดวาง ผิดทั้งหมด เพราะเกิดปัญหาเส้นผม (หรือความโลภเล็ก ๆ น้อย ๆ ) บังภูเขา เนื่อจาก ไม่มีการ เสียบเสริมเหล็กเส้นเล็ก ๆ จากแนวคานที่วางพื้นสำเร็จหักงอเข้าสู่แผ่นพื้น (ดูภาพประกอบ) เรื่องนี้ เป็นเรื่อง ที่ Serious ทีเดียว เพราะเคยเป็นกรณีศึกษา "ตึกถล่ม" มาแล้ว ขอร้องเถอะครับ อย่าประหยัด เศษเหล็กส่วนนี้ไปแลกกับชีวิตคน อีกหลายคนเลย 

  เหล็กข้ออ้อย เขาวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกันตรงไหน?

 แม้ในแบบจะระบุการใช้เหล็กข้ออ้อยตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง อย่าพยายามวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของเหล็กข้ออ้อย เป็นอันขาด (บางคนวัดจากข้อถึงผิว บางคนวัดจากผิวถึงผิว และข้อถึงข้อเอามาเฉลี่ย เป็นต้น)…ตามมาตรฐาน ASTM บอกว่าห้ามวัดเหล็กข้ออ้อย ให้ใช้การชั่งน้ำหนัก และทดสอบ ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น 

 ไม่แน่จริง…อย่าทำ PRE-CAST!!

 ตอนนี้งานก่อสร้างกำลังขาดแคลนช่างและคนงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่างปูนที่ทั้งก่อ ทั้งฉาบ งานด้านนอกอาคาร หลายโครงการ จึงพยายามหลีกเลี่ยงจากการก่อฉาบกับที ่มาใช้ระบบ PRE - CAST (ระบบหล่อคอนกรีต เสริมเหล็กข้างล่าง แล้วยกขึ้นติดตั้งข้างบน) ซึ่งเป็นระบบ ที่สามารถ ทำให้งาน ทั้งโครงการ เร็วขึ้น เนื่องจากสามารถเตรียมแผ่น PRE-CAST ไว้ก่อน และงานก็จะดูเรียบร้อยกว่า เพราะการตกแต่งผิวด้านล่าง สามารถทำได้สะดวกกว่า จากประสบการณ ์และสิ่งที่เห็นมาถึงปัจจุบันนี้ งาน PRE-CAST กลับเป็นงานที่ทำให้ โครงการมีปัญหาได้ เพราะงาน PRE-CAST นี้ เป็นวิธีการที่นับว่าใหม่มาก สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างทั่วไปในบ้านเรา มีผู้รับเหมาและผู้บริหารการก่อสร้างเพียง ไม่กี่รายที่เข้าใจในวิธีการ และการเตรียมการ ทำให้แผ่นคอนกรีต ที่เตรียมไว้ด้านล่าง ไม่พอดีกับพื้น ที่เตรียมไว้ ด้านบน หรืออุปกรณ์ การยก ไม่เอื้ออำนวย หรือการเตรียมจุดต่อเชื่อม ระหว่างแผ่น PRE-CAST กับพื้น หรือเสาไม่ถูกต้อง ฯลฯ
จึงขอเรียนเตือนไว้เลยว่า….หากไม่แน่จริง ไม่มีประสบการณ์มาก่อน อย่าเพิ่งทำงานระบบ PRE-CAST เลย… เพราะ… ท่านอาจจะต้องฝันร้าย (มาก) ในระยะเวลาต่อมา 
  ... อ่านต่อ


Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved