Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานโครงสร้าง 2
งานโครงสร้าง 1 - งานโครงสร้าง 2 - งานโครงสร้าง 3 - งานโครงสร้าง 4 - งานโครงสร้าง 5 - งานโครงสร้าง 6


 ถนนทรุด พื้นแตก คานหัก ท่อแตก ฯลฯ เกิดจากอะไร?
ถ้าห้องแถวที่ท่านอยู่กำลังทรุดลง ๆ (พร้อม ๆ กับห้องข้างเคียง) ท่านแก้ไขอย่างไรดี?
 อย่าลืมแตรียมโครงสร้างพิเศษ ไว้สำหรับห้องเครื่อง และดาดฟ้า
ทำไม้แบบ เขาให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันเท่าไร… จึงยังไม่อันตราย
ท่านผู้รับเหมาที่รัก (และน่าเกลียดน่าชัง) ท่านเคยทราบหรือไม่ว่า การที่ท่าน ใช้เหล็กเส้น กระทุ้งคอนกรีต ในคาน ตอนเทคอนกรีต แทนที่จะใช้เครื่องจี้คอนกรีตนั้น… ท่านจะมีกำไรคอนกรีตเพิ่มขึ้นอีกกี่เปอร์เซ็นต์ ?
ปูนเสือ ปูนช้าง ใช้ไม่ดีอาจโดน ช้างเหยียบ…เสือคาบไปแด…..นะครับ !
เทคอนกรีตโครงสร้างพื้น อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์สำหรับแขวนท่อด้วย


 ถนนทรุด พื้นแตก คานหัก ท่อแตก ฯลฯ เกิดจากอะไร?

 สาเหตุสำคัญสำหรับเหตุการณ์ข้างต้น (ตามคำถาม) ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการต่อเชื่อมโครงสร้าง ที่มีเข็มดาม ไม่เท่ากัน หรือบางส่วน ไม่มีเสาเข็มเลย เช่น ถนน หรือพื้น (บางส่วน) หรือคาน ที่ส่วนใหญ่ ใช้บริเวณ รอบนอกอาคาร ตอกเสาเข็มขนาดเล็ก นำไปเชื่อมต่อกับ อาคารใหญ่ ที่ใช้เสาเข็มขนาดใหญ่ การทรุดตัวไม่เท่ากัน เกิดการฉีกขาด หักเสียหาย 

  ถ้าห้องแถวที่ท่านอยู่กำลังทรุดลง ๆ (พร้อม ๆ กับห้องข้างเคียง) ท่านแก้ไขอย่างไรดี?

 ทางที่ดีไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย หากการทรุดตัวนั้นไม่เป็นอันตราย แต่หากจะแก้ไข ต้องชวนเพื่อนบ้าน ทั้งหมด แก้ไข ไปพร้อมกันด้วย ถ้าท่านแก้ไขไม่ให้อาคารท่านทรุดคนเดียว ในขณะที่คนอื่น เขายังทรุดอยู่ ห้องแถวนั้น จะมีโครงสร้างต่อกัน และร่วมกัน การแก้การทรุดห้องแถว จะทำให้ระบบโครงสร้าง ที่ร่วมกัน อยู่นั้น สับสนวุ่นวาย ซึ่งท่านจะทำให้บ้านคนอื่นพังได้ เมื่อเขาพังแล้ว ก็อาจจะมาดึงบ้านท่าน พังต่อไป ภายหลัง 

 อย่าลืมแตรียมโครงสร้างพิเศษ ไว้สำหรับห้องเครื่อง และดาดฟ้า

 อาคารหลายแห่งที่ออกแบบและก่อสร้างตามแบบโครงสร้างจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่า ไม่สามารถนำ หม้อแปลงไฟฟ้า Transformer, เครื่องจักรปรับอากาศ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น สำหรับการใช้อาคาร เข้าไปวางได้ แม้จะมีการเตรียมพื้นที่อาคาร ในแบบทางสถาปัตยกรรม เอาไว้แล้วก็ตาม เพราะลืม เตรียม ความ แข็งแรง ของโครงสร้างเอาไว้ (ซึ่งโดยปกติพื้นที่ห้องเครื่อง สำหรับการวางอุปกรณ์ไฟฟ้า-เครื่องกล ในห้องเครื่อง และอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศ ที่วางบนชั้นดาดฟ้า จะต้องเตรียมโครงสร้าง การรับน้ำหนัก ไว้แข็งแรง กว่าโครงสร้างปกติ ของอาคารประมาณ 4-6 เท่า)
ดังนั้นการออกแบบที่ดีและสมบูรณ์ จะต้องมีการประสานงานของงานสถาปัตยกรรม โครงสร้าง และ วิศวกรรมระบบ ไว้แต่เริ่มแรก เสมอ… ยกเว้นแต่ ใครอยากจะให้อาคารของตัวเอง เกิดการ แตกร้าว พังทลาย รั่วซึม…ก็ตามใจครับ

 ทำไม้แบบ เขาให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันเท่าไร… จึงยังไม่อันตราย

 หลายครั้งที่มีการขัดแย้งกันระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้าง และคนควบคุมงาน (ซึ่งอาจจะรวมไปถึงเจ้าของ โครงการด้วย) เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้าง วางขนาดไม้แบบผิดพลาด (หรือหล่อคอนกรีต ออกมาแล้ว เห็นความผิดพลาด )…… ซึ่งในชีวิตจริง การที่จะจะเตรียมไม้แบบทุกอย่าง ไม่ให้ผิดพลาดเลย ย่อมเป็นไป ไม่ได้ แต่หากปล่อยให้ผิด (กันจนเพลิน) ก็เป็นอันตราย ต่อระบบโครงสร้างแน่นอน…..เรื่องนี้ ทางวิศวกรรมสถานฯ ได้มีมาตรฐาน ไว้ดังต่อไปนี้

1.) คลาดเคลื่อนแนวดิ่งในแต่ละชั้น

= 10 mm.

2.) คลาดเคลื่อนจากระดับหรือแนวลาดในช่วง 10 เมตร

= 15 mm.

3.) คลาดเคลื่อนจากแนวอาคารที่กำหนดในแบบ และ ตำแหน่งฝาผนังและฝาประจันที่เกี่ยวข้องในช่วง 10 เมตร

= 20 mm.

4.) คลาดเคลื่อนของขนาดหน้าตัดเสา-คาน-พื้น-ผนัง

= 5.+10 mm.

5.) ไม้แบบคลาดเคลื่อนในฐานราก
ตำแหน่งฐานรากผิดหรือเฉศูนย์
คลาดเคลื่อนความหนาฐานราก

= 20.+50 mm.
= 50 mm.
= 50.+100 mm.

6.) คลาดเคลื่อนของความหนาขั้นบันได ลูกตั้ง/ลูกนอน

= 2.5 / 5 mm.

 ท่านผู้รับเหมาที่รัก (และน่าเกลียดน่าชัง) ท่านเคยทราบหรือไม่ว่า การที่ท่าน ใช้เหล็กเส้น กระทุ้งคอนกรีต ในคาน ตอนเทคอนกรีต แทนที่จะใช้เครื่องจี้คอนกรีตนั้น… ท่านจะมีกำไรคอนกรีตเพิ่มขึ้นอีกกี่เปอร์เซ็นต์ ?

 พูดไปแล้วเหมือนเรื่องโกหก ว่าการที่ใช้เหล็กกระทุ้งคอนกรีตนั้น คอนกรีตจะไม่แน่น ทำให้เกิดรูกลวงได้ ลองเอา เครื่องจี้คอนกรีต จี้ตามไป หลังจากกระทุ้งเสร็จ ทำให้คอนกรีตยุบตัวลงอีกถึง 20% -25% ผู้รับเหมา ก็กำไรมากขึ้น ในส่วนนี้อีก 20% - 25% แต่ความมั่นคง แข็งแรง จะลดลงไป กี่เปอร์เซ็นต์ ผู้สื่อข่าว ไม่ได้บอกมา

  ปูนเสือ ปูนช้าง ใช้ไม่ดีอาจโดน ช้างเหยียบ…เสือคาบไปแด…..นะครับ !

 คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจว่าปูนซิเมนต์ทั่วไปนั้นมี 2 ชนิด ชนิดแรก เรียกว่า ปูน Portland Cement (เช่นตราช้าง ตราพญานาค ตราดอกจิก) ซึ่งใช้ทำโครงสร้าง มีกำลังอัดสูง แข็งกว่าปูนแบบที่สอง หรือที่เรียกว่า ปูน Silica Cement (เช่นตราเสือ ตรางูเห่า ตรานกอินทรีย์) ซึ่งมีกำลังอัดน้อย ซึ่งจะใช้สำหรับ ก่ออิฐ หรืองานฉาบปูนเท่านั้น
วิศวกรส่วนใหญ่จะคำนวณโครงสร้างโดยใช้มาตรฐานกำลังอัด ของ Portland Cement พอมาทำจริง ๆ หากผู้ก่อสร้าง ใช้ปูน Silica Cement ซึ่งแข็งแรงน้อยกว่า โครงสร้างของคุณก็ไม่แข็งแรง….. ดังนั้น ก่อนการก่อสร้าง ตรวจ หรือถามผู้ออกแบบสักนิด ว่าเขาออกแบบ ให้ใช้ปูนชนิดใด…. รายการใช้ปูนผิด (โกง?) แบบนี้หาดูได ้ตามบ้านจัดสรรทั่วไป) 

 เทคอนกรีตโครงสร้างพื้น อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์สำหรับแขวนท่อด้วย

 อาคารสมัยใหม่ปัจจุบัน ตามฝ้าเพดานจะอุดมไปด้วยท่อของวิศวกรรมระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประปา ไฟฟ้า ปรับอากาศ และอื่น ๆ ซึ่งท่อเหล่านี้จะมีน้ำหนักไม่น้อยทีเดียว และท่อเหล่านี้ จะอยู่ได้ต่อเมื่อ มีตัวแขวน มารองรับ (Hanger) ที่จะต้องฝากไว้กับเนื้อคอนกรีต ของพื้นคอนกรีตชั้นบน หากไม่เตรียมการ ยึดติด Hanger เอาไว ้ก็จะสร้างปัญหา กับการก่อสร้าง หรือกับอาคาร ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ทั้งความคลาดเคลื่อน ของตำแหน่ง (แนวท่อ) ทั้งการแตกหัก เสียหาย ของท่อเหล่านั้น
สิ่งที่ต้องเตรียมการแต่เริ่มแรกคือการทำ Shop drawing (แบบสำหรับการก่อสร้างจริง) ของงาน ทุกระบบ ที่เกี่ยวข้อง หาแนวท่อ ให้พอ แล้วฝังพุก ตัวเมีย (Insert) ไว้บนไม้แบบ ก่อนการเทคอนกรีต เมื่อถอด ไม้แบบออก (พุกจะฝัง อยู่ในคอนกรีต) จึงนำพุกตัวผ ู้ซึ่งเป็นขอเกี่ยว เสียบเข้าไป เพื่อแขวนท่อ ตามแนว ที่เตรียมเอาไว้
ในกรณีที่การฝัง Insert เป็นเรื่องลำบากในการทำงานมาก เราอาจจะทาสีไว้ตามแนวเหล็กเสริม หรือแนว เหล็กแรงดึงสูง (Tendon) ที่ไม้แบบ เมื่อถอดไม้แบบออก ก็จะมีรอยสี ที่ทาไว้ติดบนพื้นคอนกรีต (ฝ้าเพดาน) แล้วจึงขันน๊อตเกลียว กับพื้นคอนกรีตนั้น (ณ แนวที่ไม่มีรอยสีเหล็กเสริม) จึงแขวน Hanger เพื่อแขวนท่อ ต่อไปได้ …. แต่วิธีการนี้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากแนวเหล็กเส้น หรือเหล็กแรงดึงสูง (Tendon) อาจเบี่ยงเบน ย้ายไปได้ เวลาเทคอนกรีต ทำให้แนวเหล็กจริง กับรอยสี ที่เตรียมไว้ไม่ตรงกัน หากการเจาะน๊อตเข้าไป ถูกเหล็กหรือ Tendon จะทำให้โครงสร้าง เป็นอันตรายได้ 
  ... อ่านต่อ


Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved