|
บ้านแห่งอนาคต
เน้นสร้างคุณภาพชีวิต-ประหยัดพลังงาน 2
|
|
|
หลักการและวิธีดำเนินการ
1. การวิเคราะห์เพื่อแสวงหาข้อเด่น
และข้อด้อยของสภาพภูมิอากาศ และนำปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นประโยชน์มาใช้ในขณะเดียวกัน
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ก็จะใช้วิทยาศาสตร์มาช่วยในการหลีกเลี่ยง
เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคนิค และกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับเขตร้อนชื้น
ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับคนไทยอย่างแท้จริง
2. การค้นคว้าทดลองเพื่อหาศักยภาพของตัวแปร
ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงซึ่งได้แก่
- การนำความเย็นจากดินมาใช้
- การใช้ต้นไม้และพืชคลุมดินมาปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบๆ
บริเวณ
- การนำความเย็นจากท้องฟ้ามาใช้สำหรับระเบียง
- ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะนำน้ำค้างมาใช้ประโยชน์ |
|
3.
การทดลองวัสดุใหม่ๆ โดยสร้างกล่องทดลอง เพื่อหาความเหมาะสมของผนังระบบต่างๆ
ที่เหมาะ สมทั้งในกรณีที่มีการปรับอากาศและใช้ระบบธรรมชาติ
(ไม่มีการปรับอากาศ) โดยทำการทดลองในสภาพแวดล้อมจริง
4. ใช้ระบบควบคุมความชื้น เมื่อค้นพบว่าความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญ
จึงได้ออกแบบระบบควบคุมความชื้น และการใช้เทคโนโลยี ฮีท
ไพพ์ (Heat Pipe) มาช่วยควบคุมความชื้นในระบบปรับอากาศ
5. การเลือกใช้กระจกที่เหมาะสมกับเมืองร้อน
โดยเน้นการใช้กระจกที่สามารถนำแสงธรรมชาติมาใช้ได้มาก และความร้อนเข้ามาได้น้อย
ตลอดจนสกัดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่ไม่ต้องการออกไป |
6.
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์
ด้วยวิธีจำลองสภาพการทำงานของระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์
(Computer Simulation)
เป็นส่วนใหญ่
โดยได้ประยุกต์การควบคุมสะพานความร้อน
(Thermal Bridge)
เข้าสู่อาคารที่แตกต่างไปจากผลงานทั่วไป
7.
การคำนึงถึงผู้ใช้งาน
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่สมบูรณ์
ระบบควบคุมต่างๆ
จึงมี 2 ระบบ คือ
เมื่อใช้ระบบธรรมชาติ
จะมีลักษณะของความเป็นอย
ู่ที่เป็นเสมือนที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตที่ค่อนข้างสบาย
โดยอาศัยระบบธรรมชาติเป็นหลัก
และมีคุณภาพชีวิตภายในบ้านที่ดีกว่าบ้านทั่วไปมาก
|
|
|
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระดับสภาวะน่าสบายในเชิงอุณหภูมิ
(Thermal Comfort) ดีกว่าบ้านทั่วไปมากแต่ในกรณีที่ต้องการความสบายมากกว่านั้น
จะสามารถควบคุมได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ตอบสนองต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้อย่างสมบูรณ์
8. การประเมินค่าความสำเร็จ ด้วยการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านจริงตลอดระยะเวลากว่า
2 ปีที่ผ่านมา จึงพบว่านวัตกรรมชิ้นนี้เป็นแนวโน้มของการใช้ชีวิตในอนาคตที่สามารถทำได้โดยคนไทย
และมีศักยภาพที่เหมาะสมกับขนมธรรมเนียมประเพณี และภูมิอากาศของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ |
|
วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
วัสดุต่างๆ
ที่ใช้ล้วนแต่สามารถผลิตได้ภายในประเทศทั้งหมด
1. วัสดุหลังคา TG SHINGLE
2. วัสดุผนัง TG ARMOUR WALL (ระบบ
EIFS)
3.
วัสดุฉนวนและวัสดุกันไฟไมโครไฟเบอร์
หนา 6
นิ้ววัสดุฉนวนใยหิน
(Rock Wool Insulation)
แผ่นยิปซัมบอร์ดหนา
12 มม. และโฟม EPS (Expanded
Polystrylene Foam) |
|
4.
กระจกฮีทมิเรอร์ (Heat Mirror) กระจกฮีทสต็อป (Heat Stop)
และกระจกลามิเนต กระจก เงา กระจกพ่นทราย กระจกประตูห้องอาบน้ำ
และวงกบพีวีซีบางส่วน
5. Counter ภายในบ้านโคเรียนท์
6. สีเคลือบภายนอก
ผลงานประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมบ้านแห่งอนาคต มีแนวโน้มและศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์
ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการใช้พลังงาน
(ในที่นี้หมายถึงค่าไฟฟ้า) ซึ่งนวัตกรรมบ้านแห่งอนาคตหลังนี้ใช้พลังงานในส่วนของระบบปรับอากาศน้อยกว่าบ้านทั่วไปถึงประมาณ
7 เท่า (บ้านทั่วไปที่ก่อสร้างด้วยระบบก่ออิฐฉาบปูน มีพื้นที่ปรับอากาศเฉลี่ยประมาณ
15 ตารางเมตรต่อตัน แต่บ้านหลังนี้มีพื้นที่ปรับอากาศเฉลี่ยประมาณ
110 ตารางเมตรต่อตัน) |
2.
สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต
สำหรับผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ดีกว่าบ้านแบบทั่วไปมาก
เพราะมีสภาวะอากาศที่ควบคุมได้อย่างสมบูรณ์อยู่ในเขตสบายตลอดเวลา
โดยใช้พลังงานน้อยกว่าบ้านทั่วไป
ในกรณีที่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศก็มีอุณหภูมิภายในที่เย็นสบายกว่าบ้านทั่วไปมาก
รวมทั้งยังมีฝุ่นละอองน้อย
อากาศแห้ง-สะอาด
และคุณภาพเสียงที่ดี
3.
ช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพราะเน้นการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมด้วยต้นไม้
และสภาพธรรมชาติรอบๆ
บริเวณที่ตั้งอาคาร |
|
|
4.
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบ้านได้ในระยะยาว อาทิเช่น
ไม่ต้องทาสีภายนอกใหม่บ่อยครั้ง เพราะใช้วัสดุฉาบผิวภายนอกที่ไม่มีการยืดหดตัว
วางตำแหน่งของระบบท่อต่างๆ ไว้ภายนอกบ้าน ทำให้สะดวกในการซ่อมบำรุง
และยังเป็นการป้องกันความชื้นจากท่อเข้าสู่บ้านอีกด้วย
|