Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

แบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้าน 2 ชั้น ชุดที่ 1 แบบบ้าน 2 ชั้น ชุดที่ 2 แบบบ้าน 3 ชั้น แบบบ้านขายดี แนวคิดในการออกแบบ ข้อดีของแบบสำเร็จรูป เปรียบเทียบราคา สั่งซื้อแบบ
 Smile Guides
  สารพันการตกแต่ง
  สาระเรื่องบ้าน
  การตกแต่งคอนโด
  เฟอร์นิเจอร์
  การจัดสวน
  โฮมเธียร์เตอร์
  วัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง
  การซ่อมแซมบ้าน
Smile Services
แบบบ้านสำเร็จรูป นำไปก่อสร้างได้ทันที
Home Plans
แบบบ้านสำเร็จรูปราคาถูก
 Smile Home
 Smile Guides
 Smile Estate
 Smile Info
 Smile life
 Smile Room
 Smile Societies
 Smile Services
 Smile Links
 Sitemap

 

การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง

     จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
  
  ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งาน หรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้น ท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้น ท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้
สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้

     กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ  x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต

ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 6 อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่อมาคำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า
      1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย
      2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย
      3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย
      4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย
       5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1÷1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
       6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย
       7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
       8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
       9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย
      ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้
      อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
      1.1 ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ ไม่มีการใช้ไฟฟ้า 4.67 บาท
5 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1-5) เป็นเงิน 4.96 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15) หน่วยละ 0.7124 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 0.8993 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 1.1516 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 1.5348 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 1.6282 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.1329 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.4226 บาท

      1.2 ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ ไม่มีการใช้ไฟฟ้า เดือนละ 83.18 บาท
35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง) (หน่วยที่ 1-35) เป็นเงิน 85.21 บาท
115 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-150) หน่วยละ 1.1236 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.1329 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่401เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.4226 บาท

    ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ

ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย

35 หน่วยแรก  
85.21
บาท
115 หน่วยต่อไป (115x1.1236 บาท)
129.21
บาท
250 หน่วยต่อไป (250x2.1329 บาท)
533.22
บาท
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย (990-400 = 590 x 2.4226 บาท)
1,429.33
บาท
รวมเป็นเงิน  
2,176.97
บาท


คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่าง       ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์

990 หน่วย x 0.05045 บาท  
499.46
บาท
รวมเงิน 2,176.97+499.46 =
2,676.43
บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% = 2,676.43 x 7/ 100 =
187.35
บาท
รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
2,863.75
บาท


  
หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.5 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์
      สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก

     

คัดมาจากหนังสือ
วารสารภายใน การไฟฟ้านครหลวง
ปีที่ 18 ฉบับที่ 178 กรกฏาคม 2541


 

 

 

 

Top Page
ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com
Smilehomes.com : 320  Taksin Road  Thonburi  Bangkok 10600
Tel : 0-2890-4598   Fax : 0-2465-4560   Mobile : 01-408-4823

Copyright © 2000 Smilehomes.com : Wisdom Design - All Rights Reserved