เชื่อหรือไม่
. คุณน่าจะเลือกโถส้วมก่อนการสร้างบ้าน ?
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องจริง เพราะสุขภัณฑ์ในบ้านเรา ต่างยี่ห้อกันแล้ว จุดหรือระยะการวางท่อ เข้าสู่สุขภัณฑ์ ก็แตกต่างกันออกไปด้วย
จึงขอแนะนำว่าคุณน่าจะเลือกยี่ห้อสุขภัณฑ์ (รุ่น เอาไว้ทีหลัง ยังได้) เสียก่อนที่เขาจะเทพื้นคอนกรีต เพื่อผู้ก่อสร้าง จะได้เตรียมวางท่อไว้ให้ถูกจุด บ้านคุณจะได้ไม่มีปัญหา เรื่องรั่วซึมจากห้องน้ำ หรือปัญหาสุขภัณฑ์ใช้ไม่ได้
. ไงครับ
บ้านคุณน่าจะมีถังเก็บน้ำไว้แน่ ๆ แต่ทราบไหมว่า คุณน่าจะซื้อถังเก็บน้ำขนาดไหน?
ต้องถามก่อนว่าบ้านคุณมีกี่คน คนหนึ่งคนจะใช้น้ำประมาณ 200 ลิตร ต่อวัน หากบ้านคุณมี 5 คน และต้องการ เก็บน้ำ ไว้เผื่อใช้ สัก 3 วัน ก็คำนวณได้ว่า
ถังน้ำจะมีขนาด = จำนวนคน x 200 ลิตร x 3 วัน = 5 x 200 x 3 = 3,000 ลิตร = 3 ลบ.ม.
ทั้งนี้ไม่รวมน้ำที่ใช้รดต้นไม้ และสวนขนาดใหญ่นะครับ (สวนเล็ก ๆ และต้นไม้ไม่มากไม่เป็นไร เพราะ เผื่อไว้แล้ว)
ซื้อสุขภัณฑ์
(Fixture) แล้วอย่าลืมเลือกอุปกรณ์
(Fitting) ด้วย
เครื่องสุขภัณฑ์ต่าง ๆ
(Sanitary Fixture) โดยตัวมันเองแล้วไม่สามารถจะใช้งานได้ทันที จำเป็นที่จะต้อง เลือกอุปกรณ์ควบ ไปด้วย
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ที่คุณเลือก อาจจะใส่ไม่ได้ กับสุขภัณฑ์ ที่คุณเลือก อาจจะเพราะมีขนาด ไม่เท่ากัน ลักษณะของเกลียวตัวผู้ตัวเมียต่างกัน
.
ปัญหานี้ ก็เหมือนกับ การซื้อรถยนต์ กับซื้อยางรถยนต์ จะต้องพิจารณาเลือกให้เข้ากันให้ได้
อยากจะมีโถฉี่ ระวังอย่าตั้งใกล้โถส้วม
โถฉี่ (urinal) คงไม่ต้องอธิบายว่าคืออะไร
เพียงแต่ขอให้ระวังนิดนึงว่าอย่าเอาไปตั้งติดกับโถส้วม หรืออยู่ข้างหน้า โถส้วม
ในระยะกระชั้นชิดนัก เพราะไม่เช่นนั้น เวลานั่งอึบนโถส้วม ...... แล้วจะมีโถฉี่ลอยอยู่ระดับจมูก!!!! ตลอดเวลา
ช่างก่อสร้างโปรดทราบ
.
เมื่อใดที่ท่านจะติดตั้ง Urinal (โถฉี่) สำหรับสาธารณชน กรุณาเตรียมก่ออิฐสองชั้นเตรียมเอาไว้นะคะ
.ฮิ..ฮิ..ฮิ.
โถปัสสาวะ
(Urinal) สำหรับห้องน้ำสาธารณะมักจะมีขนาดใหญ่กว่าโถปัสสาวะในบ้านคนธรรมดา ซึ่งจะมี น้ำหนักมาก
และมี ท่อน้ำส่งชำระใหญ่ด้วย เวลาจะติดตั้ง ต้องสำรวจก่อนว่า ผนังที่เตรียมไว้ติดโถนั้น มีความหนาเพียงพอหรือไม่ หากเป็นผนังก่ออิฐ ก็ต้องเป็นก่อ 2 ชั้น
เพื่อที่จะรับน้ำหนักโถได้ (ไม่พังลงมา ตอนยืนทำธุระ) และมีความหนาเพียงพอ ที่จะฝังท่อน้ำขนาดใหญ่ได้ (หากฝังท่อน้ำขนาดเล็ก เนื่องจาก ผนัง หนาไม่พอแล้ว
เวลากระชับปุ่มชำระ
.......... จะมีน้ำออกมานิดเดียว กระปริบกระปอย เพราะเจ้าท่อน้ำนี้ ทำหน้าที่เหมือนกับ ถังน้ำโถส้วมชักโครก หากเล็กเกินไป ก็เก็บน้ำได้น้อย เวลากดปุ่ม ก็มีน้ำออกมานิดเดียว)
ขัดมันใต้อ่างอาบน้ำ แล้วชีวิตคุณจะไม่เลวร้าย
ในการก่อสร้างห้องน้ำทั้งหลาย สิ่งที่เรากลัวที่สุด ก็คือการรั่วซึม ของห้องน้ำ จากชั้นบน ลงสู่ชั้นล่าง หากเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จะทำการแก้ไข
ให้หยุดชะงัก 100% เป็นเรื่องที่ยาก แต่หากพื้นที่ ที่เกิดการรั่วซึมนั้น มองเห็น ได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือ โดยยังไม่ต้อง มีการทุบ รื้ออุปกรณ์
ภายในห้องน้ำก็ยังพอทน (ไหว) ถ้าเป็นจุดที่ต้อง คาดเดาเอา ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
เยิ่นเย้อทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรั่วซึม จากบริเวณ ใต้อ่างอาบน้ำ
. ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาใหญ่ ตั้งแต่แรก ขอแนะนำให้ จัดเตรียมพื้น บริเวณ ใต้อ่างอาบน้ำ ให้ลาดเอียง สู่ท่อระบายน้ำ
(Floor Drain) และฉาบปูนขัดมัน กันซึม เสียก่อน
เพื่แน่ใจว่า หากมีการรั่วซึม จากอ่างอาบน้ำ น้ำจะไม่รั่ว ไปสู่ห้องข้างล่างได้ (ง่าย ๆ) ...
อ่านต่อ
|