เรื่อง
.ส้วม
.ส้วม
ปัญหาเรื่องส้วมเป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง, กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็ม บ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้ง ก็ยังไม่หาย
. ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ :
1. โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ ทำให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำ จะไหลย้อนกลับมามีมาก
2. ท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง ราดลง บางครั้งราดไม่ลง
3. ลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง เพราะน้ำที่ราด ไม่สามารถ เข้าไปแทนที่ อากาศได้
4. หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นมาก แทนที่น้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึมจะซึมไหลออก กลับกลายเป็น น้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมาคือส้วมเต็มบ่อย และราดน้ำไม่ลง
5. ขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป (ในการก่อสร้างผู้ออกแบบจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ ให้มีขนาด เหมาะสม กับจำนวนคนที่ใช้ส้วม หากใช้อาคารผิดประเภท หรือผู้รับเหมา ทำผิดขนาด ขนาดของบ่อเกรอะ บ่อซึมโต ไม่พอ ก็จะทำให้เต็มง่ายและเต็มเร็ว เพราะช่องว่างน้อย น้ำซึมออกไม่ทัน)
6. มีสิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงไปในโถส้วมเข้าไปอยู่ เช่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะไม่ยอมสลาย และอุดตัน
7. ผู้ที่ใช้บ่อเกรอะที่ใช้เครื่องกลช่วยการย่อยสลาย ซึ่งโฆษณาว่าเป็นถังส้วมไม่มีวันเต็ม แต่เดี๋ยวก็เต็ม เดี๋ยวก็เต็ม น่าจะลองตรวจเช็คดูด้วยว่า คุณเสียบปลั๊กไฟฟ้าให้เครื่องจักร มันทำงานหรือเปล่า !!!! เหตุทั้งหมด ดังกล่าวข้างต้น คุณอาจจะลองตรวจเช็คด้วยตนเองได้ แต่หากส้วมของคุณ ยังมีปัญหาอยู่ ก็ต้องเดินไปหาผู้รู้จริง ๆ แล้วเท่านั้นแหละครับ
Overflow นั้นคืออะไร และ สำคัญไฉน?
verflow คือทางที่ให้น้ำออกหากมีน้ำเต็มและน้ำไหลออกทางอื่นไม่ทัน หรือทางออกทางอื่นอุดตัน หรืออุปกรณ์ ที่ใช้หยุดน้ำ ไม่ทำงาน เช่นในบ่อเก็บน้ำ หากลูกลอยไม่ทำงาน ก็จะมีทางาให้น้ำระบายออกได้, หรือพื้นดาดฟ้าที่น้ำน่าจะไหลลงท่อน้ำฝน แต่เหตุบังเอิญให้ท่อน้ำฝนอุดตัน ก็จะต้องระบายผ่าน Overflow ที่เป็นช่องเจาะไว้ริมกำแพง ไม่ท่วมเข้าบ้านเข้าช่อง หรือห้องน้ำ หากท่อระบายอุดตัน เมื่อมีน้ำท่วมในห้องจะให้ไหลไปที่ไหนแทนการเข้าห้องนอน เป็นต้น
ท่านสถาปนิกที่รัก
เรื่องนี้เป็นเรื่องของท่านโดยตรงและโดยอ้อม จึงขอกรุณาตรวจดูร่วมกับวิศวกรสุขาภิบาลด้วยว่า จุดต่าง ๆ ในอาคารที่ล่อแหลมกับน้ำท่วมนั้น ท่านเตรียม Overflow ไว้หรือเปล่า
ท่อเอสล่อนแบบ สีเหลือง สีฟ้า และสีเทา ต่างกันอย่างไร?
ว่ากันแบบลูกทุ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์ทางเทคนิคใด ๆ
ท่อเอสล่อนแยกตามความแข็งแรงได้ดังต่อไปนี้
- ท่อสีเทา เป็นท่อที่อ่อนแอที่สุด ใช้ทำท่อน้ำทิ้ง ทนแรงอัดอะไรไม่ได้มาก
- ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่มีความแข็งแรงขนาดกลาง ใช้ทำท่อน้ำใช้ที่มีแรงอัดของน้ำ เพราะแรงอัดได้มากพอ
- ท่อสีเหลือง เป็นท่อที่มีความแข็งแรงมากที่สุด ใช้ร้อยสายไฟฝังในอาคารได้
อย่าประหยัดเงินค่าประตูน้ำ
(Valve) หากไม่อยากมีปัญหา
ประตูน้ำ หรือ Valve มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดจะราคาไม่เท่ากัน ผู้ออกแบบ ผู้ก่อสร้าง และเจ้าของ โครงการ กรุณาอย่าประหยัดเงินค่า Valve เหล่านั้นเลย เพราะยามเกิดปัญหาขึ้นมาจะเป็นเรื่องใหญ่โต ที่แก้ไข ไม่ได้ เช่น
1. Supervisary Valve ซึ่งเป็นประตูน้ำพิเศษ ซึ่งหากใครมาปิด อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณแจ้งมายังศูนย์ ควบคุม ทราบว่าประตูหรือ Valve นี้ถูกปิดเอาไว้ ซึ่ง Supervisary Valve นี้มักจะใช้ควบคุมท่อน้ำดับเพลิง เพื่อป้องกัน การโจรกรรมหรือการหลงลืมของช่างท่อที่อาจปิดไว้ตอนตรวจตราซ่อมแซมแล้วลืมเปิด หากเปลี่ยน ประตูน้ำนี้ เป็นประตูน้ำ ชนิดอื่นเช่นแบบ Gate Valve แม้ราคาจะลดลงบ้าง แต่จะอันตรายมากหากเมื่อยาม เกิดอัคคีภัย แล้วไม่มีน้ำดับไฟ เพราะ Gate Valve โดนปิดเอาไว้ (หรือลืมเปิด)
2. Main Gate Valve ซึ่งเป็นประตูน้ำด้านหลังของมิเตอร์น้ำของการประปาฯ ไม่น่าจะตัดทิ้ง แม้โดยปกติ ท่อประปาหลัก จากการประปาจะมีประตูน้ำของการประปาฯ อยู่แล้วก็ตาม เพราะโอกาสของประตูน้ำ ของการประปา จะเสียหายไม่ทำงานมีมาก (ส่วนใหญ่จากประสบการณ์ ประตูน้ำของการประปาฯ เมื่อถูกปิดแล้วจะไม่สามารถเปิดได้ ยกเว้นแต่ให้เจ้าพนักงานของการประปาฯ มาเปิด) ดังนั้นเมื่อเกิด ท่อน้ำแตกในโครงการ แล้วต้องปิดประตูน้ำ หลักของการประปาฯ (เนื่องจากไม่มีประตูน้ำของตนเอง) เพื่อซ่อมแซม เมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็ยังคงไม่มีน้ำใช้ (เพราะประตูน้ำของการประปาฯ เปิดไม่ได้) ต้องรอจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมา
.ซึ่งต้องเสียค่าเสียหาย และอาจจะต้องรออีกหลายวันเชียว
เราเตือนคุณแล้ว
.มีบ้าน
.อย่าทำลายถังน้ำใต้ดิน !!!
หากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ (ความจำเป็นในที่นี้หมายถึงท่านไม่มีที่ดินเพียงพอที่จะวางถังน้ำบนดิน
หรือท่านเอง ทนความน่าเกลียด น่าชังของถังน้ำบนดินไม่ได้จริง ๆ ) เราขอแนะนำว่า อย่าวางถังน้ำ (ถังเก็บน้ำ) ใต้ดินเลย
เพราะเวลาถังน้ำหรือท่ำน้ำมันแตก
.
ท่านจะไม่มีทางรู้เลย
จนกว่าบิลค่าน้ำ จาก การประปาฯ จะมาถึง (ถังน้ำจะต้องมีท่อระบายน้ำล้น ใต้ดิน เวลาน้ำล้น ก็จะไหลลงสู่ ท่อระบายน้ำ โดยตรง)
.การแตก ของถังน้ำ หรือการหักของท่อน้ำ อาจเกิดจากสาเหตุได้หลายประการ เช่น โครงสร้างของถังน้ำโดยส่วนใหญ่ มักจะแยกออก จากตัวอาคาร และโครงสร้างของถังน้ำ มักจะใช้เข็ม สั้นกว่าตัวอาคาร การทรุดตัวจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิด การฉีกขาด - หักทำลายได้ หรือหากมีการ ก่อสร้าง บริเวณใกล้เคียง ที่สร้างความสั่นสะเทือน หรือเกิดการไหล (หรืออัด) ของดิน ถังน้ำของท่าน ก็จะวิบัติ ได้โดยง่าย
ฝังท่อระบายน้ำฝนในเสา หรือในช่องท่อ ต้องระวังอะไรบ้าง
โดยทั่วไปวิศวกรสุขาภิบาลมักไม่ค่อยชอบให้เอาท่อน้ำทั้งหลายไปฝังอยู่ในเสา หรืออยู่ในช่องที่ปิดหมดทุกด้าน
(Closed Duct) เพราะเมื่อเกิดปัญหาจะแก้ไขไม่ได้ แต่สถาปนิกส่วนใหญ่มักจะเห็นว่าท่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าดู และน่าจะเก็บเอาไว้ ในที่มิดชิด ซึ่งหากจำเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ขอแนะนำว่า
1. วัสดุที่ใช้ทำท่อต้องดีจริง ๆ
2. การติดตั้งต้องได้แนว ได้ดิ่งจริง ๆ ก่อนการเทคอนกรีตหรือก่อนปิดช่องท่อต้องตรวจดู ให้แม่นมั่น ว่าท่อเหล่านั้น โดนยึดติดอย่างมั่นคงแข็งแรง ไม่ว่าน้ำฝนจะแรงจนท่อลั่น หรือการเทคอนกรีต (การจี้ คอนกรีต) จะรุนแรงเพียงไร การยึดติดท่อ จะต้องมีประสิทธิภาพเสมอ
3. หากเป็นช่องท่อ (Duct) น่าจะจัดเตรียมทางน้ำล้นออก
(Overflow) เอาไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกัน ปัญหา ที่ ท่ออาจผุ หรือแตกภายหลัง และมีน้ำไหลออกมา (และไม่มีทางไป)
4. อย่าเดินท่อน้ำไปปนกับท่อไฟเด็ดขาด
.ทางที่ดีอย่าเอาไปฝังในเสา หรือในช่องท่อที่โดนปิดตายเลยครับ
...
อ่านต่อ
|