อยากติด Down light อย่าลืมเว้นที่ว่างใต้ฝ้าไว้ให้เพียงพอ
Down light คือ ดวงโคมชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างทรงกระบอกและฝังอยู่บนฝ้าเพดาน มีความยาวโดยประมาณ 15-20 เซนติเมตร ดังนั้นหากจะติดดวงโคมประเภทนี้อย่าลืมเผื่อพื้นที่ว่างระหว่างฝ้าเพดาน กับห้องพื้น ชั้นบนสัก 20-25 เซนติเมตร นะครับ
อย่าลืมเหลือน้ำในถังไว้ดับไฟบ้างนะจ๊ะ
อาคารที่มีถังน้ำอยู่บนหลังคา และออกแบบให้ใช้น้ำในถังนั้นสำหรับช่วยดับไฟด้วย (ถังน้ำถังเดียว เก็บน้ำไว้ สำหรับ ใช้อุปโภค -บริโภค และเผื่อสำหรับกรณีเกิดอัคคีภัย) กรุณาอย่าลืมใส่อุปกรณ์พิเศษ
(Limit Switch) สำหรับเก็บกักน้ำบางส่วน ในถังไว้ด้วยเสมอ เพราะบางครั้ง
ท่านอาจใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค จนเพลินไปหน่อย เวลาเกิดอัคคีภัย จะเอาน้ำจากถัง มาดับไฟ
ปรากฏว่าไม่มีน้ำ ในถังเหลือเลย (หรือเหลือไม่พอดับไฟ)
เห็นจะต้องใช้น้ำตาดับไฟแทนละครับ
ปลั๊ก-สวิตช์ไฟ ในห้องน่าจะสูงสักเท่าไร
โดยทั่วไปในอาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน หรืออาคารสาธารณะ จะมีระดับวางปลั๊กและสวิตช์ไฟไว้ โดยมาตรฐาน 2 ระดับ คือ
- ระดับ + 0.30 หรือ 30 เซนติเมตรจากพื้นห้อง ซึ่งจะเป็นระดับปลั๊กไฟที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าหนัก เช่น พัดลม เครื่องดูดฝุ่นและเพื่อเดินสายซ่อนต่อเข้าเฟอร์นิเจอร์ตั้งโต๊ะ เช่นเครื่องเสียง โทรทัศน์-วิทยุ โคมตั้งโต๊ะ เป็นต้น
- ระดับ + 1.10 หรือ 110 เซนติเมตรจากพื้นห้อง เป็นระดับสวิตช์ไฟที่สะดวก ใช้สำหรับคนทุกขนาด ความสูง ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่และเป็นระดับของปลั๊กอีกระดับหนึ่งด้วย ปลั๊กจุดนี้ จะใช้สำหรับ อุปกรณ์ ไฟฟ้า ที่ไม่ใหญ่นัก และสูง 1.10 เมตร เพื่อไม่ให้มีเฟอร์นิเจอร์มาบัง (เฟอร์นิเจอร์ทั่วไป ยกเว้นตู้สูง เช่นตู้ทีวี เคาน์เตอร์ โต๊ะทำงานฯลฯ ) จะสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร
ใช้ดาวน์ไลท์น้อย ๆ
แต่ใช้ฟลูออเรสเซนท์มาก ๆ
ความจริงข้อนี้อาจจะไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเรื่องที่อาจจะเป็นปัญหาในอนาคตอันใกล้ เพราะราชการ เริ่มเข้ามา ควบคุม จำนวนพลังงาน ที่พวกเราช่วยกันใช้ อย่างฟุ่มเฟือยแล้ว ต่อไปอาจจะมีข้อกำหนด จำนวนกระแสไฟฟ้า ที่จะให้อาคารใช้ โดยพื้นที่ต่อตารางเมตรก็ได้
ใคร ๆ ก็ทราบว่า Down Light คือดวงโคมที่อยู่ในกระบอกและฝังอยู่ในฝ้าเพดานอีกที ซึ่งเป็นดวงโคม ที่มักกินไฟมาก แต่ให้แสงสว่างน้อยมาก ต้องติดทีละหลาย ๆ ดวง กว่าจะให้ความสว่างเท่ากับ
หลอดฟลูออเรสเซ้นท์ 1 ดวง แต่นักออกแบบทั้งหลาย ก็ชอบใช้เพราะมันสวยงาม มีเสน่ห์ นุ่มนวล มีราคา เซ็กซี่ ฯลฯ
บางทีหากเรามีจิตใจบ้าง อาจจะไม่ต้องรอจนเขาต้องออกกฎหมายมาบังคับเรา
เราอาจจะเริ่มช่วยกันออกแบบ
ด้วยฟลูออเรสเซนท์บ้าง ให้ยังคงเกิดความงดงาม เพื่อเหลือพลังงานไว้ให้ลูกหลานใช้บ้าง
. ครับ
Hight Voltage และ Low Voltage คืออะไร
Volt คือค่าความต่างศักดิ์ของไฟฟ้า ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "โวลท์" เช่นตอนนี้บ้านเราใช้ไฟฟ้าระบบ 220
โวลท์ เป็นต้น กระแสไฟขนาด 220
โวลท์ที่ว่านี้ เราใช้สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านเรา ซึ่งต่อโดยตรง จากสายไฟ ของการไฟฟ้า (ผ่านมิเตอร์) แต่หากเป็นตึกใหญ่ ๆ ซึ่งใช้กระแส ไฟฟ้ามาก ๆ การไฟฟ้าฯ เขาจะไม่ส่งกระแส ขนาด 220
โวลท์มาให้ แต่เขาจะส่งกระแส
ขนาดเป็นพันเป็นหมื่นโวลท์ มาให้แทน แล้วเราก็ต้องมีหม้อแปลงไฟฟ้า มาทำหน้าที่ แปลงกระแสแรงดันสูง จากหมื่น ๆ
โวลท์ มาเป็นกระแส แรงดันต่ำลง ขนาด 220
โวลท์ปกติ เราถึงสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
กระแสแรงดันสูงที่ส่งจากการไฟฟ้ามายังหม้อแปลงไฟ
(Transformer) นั้นเราเรียกภาษาอังกฤษโก้ ๆ สั้น ๆ ว่า
High Voltage ส่วนเมื่อผ่านหม้อแปลงออกมา เป็นแรงดันต่ำ (แรงดันปกติ) แล้ว เราเรียกว่า Low Voltage ครับ
หากคุณเป็นเพียงสถาปนิกธรรมดา น่าเพิ่ม Spec
หากคุณเป็นสถาปนิกประเภทที่ออกแบบบ้าน แล้วเขียนแบบไฟฟ้าเองโดยไม่ใช้วิศวกรไฟฟ้า เป็นผู้ออกแบบ ผู้คำนวณรายการไฟฟ้า และผู้เขียนรายละเอียดเพื่อการก่อสร้างของระบบไฟฟ้า (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะอาคารบ้านขนาดไม่ใหญ่โตนัก สถาปนิกจะกำหนด และเขียนแบบตำแหน่งดวงโคม ปลั๊กสวิตซ์ และอุปกรณไฟฟ้าต่าง ๆ และมีรายละเอียดประกอบแบบ
มาตรฐานเอาไว้เท่านั้น)
ตอนนี้มาตรฐาน การไฟฟ้า กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงไป และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ก็ต้องการความละเอียดอ่อนมากขึ้น ขอแนะนำให้คุณ
เพิ่มรายการประกอบแบบเกี่ยวกับเรื่องนี้สักนิดนึงว่า
- เต้ารับไฟฟ้าทั่วไปเป็นเต้ารับแบบสามขา (มีขั้วสายดิน) และเต้ารับนั้นสามารถใช้กับปลั๊กแบบขากลม และขาแบนได้ทั้ง 2 ชนิด
- เต้ารับในห้องน้ำ
และโรงรถจะต้องป้องกันด้วยเบรคเกอร์แบบป้องกันไฟฟ้ารั่วขนาด 10 mA ได้
|