Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 
 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 1

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่บ้านคุณ ทำให้คุณจนได้แค่ไหน ?
BUS DUCT คืออะไร ….และสร้างปัญหาอะไร?
มิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านคุณ กับที่อพาร์ทเมนท์คุณ ต่างกันตรงไหน?
ไฟฟ้าในครัว น่าจะวางแผนไว้อย่างไร?
มีปลั๊กฝังในเสา ต้องฝังให้ดี ….ไม่งั้นบ้านอาจพังได้

 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่บ้านคุณ ทำให้คุณจนได้แค่ไหน ?

 คนหลายคนชอบบ่นว่าค่าไฟฟ้าแพงเหลือใจ และคนอีกหลายคนก็ใช้ไฟฟ้า กันอย่างไม่บันยะบันยัง และคนหลายคน ก็นึกว่า เครื่องปรับอากาศเท่านั้น ที่กินไฟมาก และหลายคน ก็อาจจะอยากรู้ว่า อุปกรณ์ ไฟฟ้า ในบ้านเรานั้น กินไฟ และเปลืองสตางค์ขนาดไหน และหลายครั้ง พยายามศึกษา …แต่ก็ไม่รู้เรื่อง เพราะศัพท์แสง ทางเทคนิค มากมายเหลือเกิน วันนี้ เราลองมาดูกัน แบบง่าย ๆ ดีกว่า ว่า อุปกรณ์ไฟฟ้า ใกล้ตัวเรา กินเงินเรา ไปขนาดไหน (โดยสมมติว่า ค่าไฟฟ้าราคา 2 บาทต่อหน่วย และอุปกรณ์นั้น ทำงานตลอดเวลา)

ชนิดของอุปกรณ์

ขนาด

กินไฟ (Watt)

จ่ายเงิน (ต่อชั่วโมง)

พัดลมดูดอากาศ

ใบพัด 6 นิ้ว

25

0.05 บาท

พัดลมตั้งโต๊ะ

ใบพัด 12 นิ้ว

70

0.14 บาท

T.V. ขาวดำ

14 นิ้ว

50

0.10 บาท

T.V. สี

14 นิ้ว

120

0.24 บาท

T.V. สี

20 นิ้ว

200

0.40 บาท

T.V. สี

24 นิ้ว

250

0.50 บาท

เครื่องปรับอากาศ

1.00 ตัน

1,450

2.90 บาท

เครื่องปรับอากาศ

1.50 ตัน

2,060

4.12 บาท

เครื่องปรับอากาศ

2.00 ตัน

3,500

7.00 บาท

เครื่องปรับอากาศ

3.00 ตัน

5,200

10.40 บาท

ตู้เย็น

4 คิว

70

0.14 บาท

ตู้เย็น

6 คิว

90

0.18 บาท

ตู้เย็น

12 คิว

240

0.48 บาท

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

6 ถ้วย

500

1.00 บาท

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

10 ถ้วย

600

1.20 บาท

เตารีดไฟฟ้า

(ทั่วไป)

1,000

2.00 บาท

เครื่องทำน้ำร้อน

(ขนาดเล็ก)

1,500

3.00 บาท

เครื่องทำน้ำร้อน

(ขนาดกลาง)

2,200

4.40 บาท

เครื่องทำน้ำร้อน

(ขนาดใหญ่)

4,000

8.00 บาท

เครื่องซักผ้า

(ทั่วไป)

1,000

2.00 บาท

ตัวอย่างที่อ้างถึง เป็นตัวอย่างทั่ว ๆ ไป ไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้ออะไร ….แต่หากใคร เริ่มสนุก หรือเริ่มเสียดายเงินแล้ว ลองใช้สูตรนี้ดู :

ค่าไฟฟ้า = จำนวน Watt ด ค่าไฟต่อหน่วย / 1,000 บาท /ชั่วโมง โดยดูขนาดสิ้นเปลืองไฟฟ้าเป็น Watt จากหลังหรือใต้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เช่น ที่ปิ้งขนมปังอันหนึ่งเขียนว่าใช้ไฟฟ้า 800 Watt แปลว่ากินเงิน = 800 ด 2.00 / 1,000 = 1.60 บาท/ชั่วโมง 

  BUS DUCT คืออะไร ….และสร้างปัญหาอะไร?

 Bus แปลว่า รถเมล์, Duct แปลว่า ท่อ, แต่ Bus duct แปลว่าแท่งโลหะที่ใช้แทนสายไฟ เมื่อต้องการใช้ไฟมาก ๆ ส่วนใหญ่ ทำด้วยทองแดง หรืออลูมิเนียม จะเห็นได้ตามอาคารใหญ่ ๆ หรือสถานที่ ที่ต้องการใช้ ไฟฟ้า มาก ๆ เนื่องจาก สายไฟขนาดที่ใหญ่ที่สุด ก็ไม่เพียงพอกับ กระแสไฟฟ้านั้น หรือถ้าเพียงพอ ก็จะ ราคา แพงมาก
Bus duct มักจะเป็นตัวสร้างปัญหาให้อาคาร หากสถาปนิกไม่ได้เตรียมทางเดินให้มันเดินจากห้องไฟฟ้า ไปสู่ช่องท่อ เพราะ Bus duct เป็นแท่งโลหะที่หนักมาก (ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อท่อน) และยากต่อการ หักเลี้ยว (ต้องมีระยะโค้งให้พอ) บางครั้งก็เอาทางเดิน Bus duct ไปผ่านโถงอาคารหรือกำแพงลิฟท์ หากท่านกำลังออกแบบอาคารขนาดใหญ่อยู่ อย่าลืมถามวิศวกรไฟฟ้าสักหน่อยว่าเขาจะเดิน Bus duct ได้อย่างไร 

 มิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านคุณ กับที่อพาร์ทเมนท์คุณ ต่างกันตรงไหน?

 มิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านคุณเป็นของการไฟฟ้า แต่มิเตอร์ที่อพาร์ทเมนท์เป็นของเจ้าของอาคาร โดยปกต มิเตอร์ของ การไฟฟ้า จะเผื่อไฟเอาไว้บ้าง เช่นคุณจะขอมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมแปร์ การไฟฟ้า จะเอามิเตอร์ ขนาด 5-15 แอมแปร์มาให้ หรือถ้าคุณขอมิเตอร์ขนาด 15 แอมแปร์ การไฟฟ้าจะเอามิเตอร์ขนาด 15-45 แอมแปร์มาให้ ซึ่งแปลว่าในบางโอกาส คุณมีสิทธิ์ที่จะใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่คุณมี (หรือคุณขอไว้) แต่ที่อพาร์ทเมนท์คุณ เขาให้เท่าไรก็ใช้ได้เท่านั้น อาจเป็นเพราะเขาเตรียมมิเตอร์โดยไม่เผื่อให้เลย หรือหากเผื่อเขาก็มีสวิตช์บอร์ดควบคุมไว้ไงครับ 

 ไฟฟ้าในครัว น่าจะวางแผนไว้อย่างไร?

 การป้องกันไฟไหม้เวลาคุณไม่อยู่บ้านอย่างหนึ่งก็คือการ "ปิดไฟ" ที่เรามักเรียกกันว่า "ปิดคัตเอาท์" เพื่อป้องกัน ไฟฟ้าช๊อต …. แต่คุณมักไม่สามารถปิดมันได้ เนื่องจากตู้เย็นในครัว ของคุณ จะละลายหมด …หากเป็นไปได้ ขอแนะนำว่า ควรแยกวงจรไฟฟ้า ของครัวออกมาต่างหาก เพื่อคุณจะได้ "ปิดคัตเอาท์" ส่วนต่าง ๆ ในบ้านได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องกังวลว่าอาหารในครัวของคุณจะบูดเสีย 

 มีปลั๊กฝังในเสา ต้องฝังให้ดี ….ไม่งั้นบ้านอาจพังได้

 การป้องกันไฟไหม้เวลาคุณไม่อยู่บ้านอย่างหนึ่งก็คือการ "ปิดไฟ" ที่เรามักเรียกกันว่า "ปิดคัตเอาท์" เพื่อป้องกัน ไฟฟ้าช๊อต …. แต่คุณมักไม่สามารถปิดมันได้ เนื่องจากตู้เย็นในครัว ของคุณ จะละลายหมด …หากเป็นไปได้ ขอแนะนำว่า ควรแยกวงจรไฟฟ้า ของครัวออกมาต่างหาก เพื่อคุณจะได้ "ปิดคัตเอาท์" ส่วนต่าง ๆ ในบ้านได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องกังวลว่าอาหารในครัวของคุณจะบูดเสีย   ... อ่านต่อ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 3
Top Page

ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Tel : ( 02 ) 890-4598   Fax : ( 02 ) 465-4560

Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved