Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 
 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง กระจก1
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง 2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง 3


ดูกร …สถาปนิกที่รัก …. อาคารสูงที่ท่านออกแบบ ให้ กระจกประตู หน้าต่างด้านนอกอาคาร หนาเท่ากันทั้งตึกนั้น อาจทำให้ท่าน กลายเป็นฆาตกรได้ เป็นอย่างดีเชียว !!
อย่าออกแบบบานเกล็ดกระจกให้กว้างมากนัก !
บานประตูไม้อัดบิดงอ….จะแก้ไขได้อย่างไร ?
กระจกมีกี่ชนิด แล้วจะเลือกใช้อย่างไร ?
อย่าติดพัดลมระบายอากาศบนผ้าม่าน


 ดูกร …สถาปนิกที่รัก …. อาคารสูงที่ท่านออกแบบ ให้ กระจกประตู หน้าต่างด้านนอกอาคาร หนาเท่ากันทั้งตึกนั้น อาจทำให้ท่าน กลายเป็นฆาตกรได้ เป็นอย่างดีเชียว !!

 การก่อสร้างอาคาร เป็นการนำเอาวิทยาการและเทคโนโลยีไปฝืนธรรมชาติ การออกแบบอาคารสูง ยิ่งเป็นการ ฝืนกฎธรรมชาติ หนักเข้าไปอีก เพราะมีสิ่งสำคัญ ที่เข้ามากระทบอาคาร มากกว่า อาคารเตี้ยก็ คือ "แรงปะทะของลม (Win Load)" ซึ่งจะมีกำลัง แรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออาคารสูงขึ้นไป การที่สถาปนิก ใช้กระจกด้านนอกอาคาร มีความหนาเหมือนกันหมด กระจกชั้นล่าง ๆ ที่ไม่มีแรงลม เข้ามากระทำ จะอยู่ได้ แต่กระจกชั้นสูง ๆ ที่มีแรงลมเข้าไปกระทบ จะทนไม่ไหว อันตรายสูงสุด จะเกิดขึ้น ตอนที่มีพายุ และท่านเปิดประตู เข้าห้อง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตึกที่มีช่องโล่งตรงกลางตึก) ความอัดอากาศภายใน และภายนอก จะแตกต่างกันมาก กระจกที่ท่านออกแบบไว้นั้น มีโอกาสแตก และ …. "บินมาตัดคอท่าน !!!!!"

เพื่อความสบายใจ และสบายตัวของท่าน มีสูตรง่าย ๆ ในการกำหนดความหนา ของกระจก (แบบธรรมดา : Float Glass) ตามขนาดของช่องเปิด และความสูงของอาคาร ไว้ดังต่อไปนี้

ขนาดช่องเปิด
(เป็น ต.ร.ม.)

ชั้น 1 - 4
(0.11 m.)

ชั้น 5 - 10
(11.30 m.)

ชั้น 10 - 30
(30 m. up)

1.00

6 mm.

6 mm.

6 mm.

2.00

6 mm.

6 mm.

6 mm.

3.00

6 mm.

6 mm.

8 mm.

4.00

6 mm.

8 mm.

8 mm.

5.00

6 mm.

8 mm.

10 mm.

6.00

8 mm.

10 mm.

10 mm.

7.00

8 mm.

10 mm.

12 mm.

8.00

8 mm.

12 mm.

12 mm.

9.00

10 mm.

12 mm.

12 mm.

10.00

10 mm.

12 mm.

(ห้ามใช้)

11.00

10 mm.

12 mm.

(ห้ามใช้)

12.00

12 mm.

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

13.00

12 mm.

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

14.00

12 mm.

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

15.00

12 mm.

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

16.00

12 mm.

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

17.00

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

(ห้ามใช้)

แต่หากจะให้ดีกว่านี้ น่าจะติดต่อปรึกษากับบริษัทขายกระจกโดยตรงจะดีกว่า เพราะ หากต้องการ ใช้ช่องเปิด ขนาดใหญ่โต และวงเล็บว่าห้ามใช้ อาจจะต้องเปลี่ยน ชนิดของกระจก เป็นอย่างอื่นเช่น Tempered หรือ Laminated Glass เป็นต้น

  อย่าออกแบบบานเกล็ดกระจกให้กว้างมากนัก !

 บานเกล็ดกระจก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรับมุมได้) ไม่น่าจะออกแบบให้มีความกว้าง ของช่องบานมากนัก เพราะกระจก จะรับน้ำหนักตัวเอง ไม่ไหว (โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการรับน้ำหนัก ตามแนวนอน) จะแอ่น หรือแตกหักได้ …. แต่หากคิด จะใช้กระจกที่หนาขึ้น เพื่อไม่ให้แอ่น ก็ระวัง อุปกรณ์ปรับมุม จะรับน้ำหนัก ของกระจกไม่ไหว … แม้คิดจะใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ ที่แข็งแรง พอรับน้ำหนักกระจกได้ ก็ขอให้เกรงใจ คนที่ต้องมาหมุน เปิดปิด ว่าเขาจะลำบากเพียงไร (อาจจะเป็น ตัวท่านเองก็ได้) … .ดังนั้น เพื่อไม่ให้ยุ่งยาก วุ่นวายนักหนา …. ก็อย่าใช้บานเกล็ด ที่มีขนาดโตกว่า 90 ซม. เลย หากขนาดช่องโตมากกว่านั้น ก็แบ่งออก เป็น 2 ช่องดีกว่า 

 บานประตูไม้อัดบิดงอ….จะแก้ไขได้อย่างไร ?

 (แก้ไขไม่ได้ ต้องทิ้งไปแล้วเอาบานใหม่เข้ามาเปลี่ยนแทน) 

 กระจกมีกี่ชนิด แล้วจะเลือกใช้อย่างไร ?

 ระจกมีหลายชนิดแน่นอน แต่หากเราจะแบ่งความแข็งแรงของกระจกเพื่อการใช้งานให้ถูกที่ และไม่บินลงมา ทำอันตราย ก็น่าจะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ :
1. กระจกธรรมดา หรือที่เรียกภาษาเทคนิคว่า Anneal Glass เวลาแตกจะเป็นปากปลาฉลาม ซึ่งอันตราย แต่ยังโชคดี ที่รอยแตกจะวิ่งเข้าสู่กรอบ ทำให้ส่วนใหญ่ ยังไม่หล่นลงมาโดยทันทีทันใด มองจากภายนอกไม่เป็นลอนดูเรียบสวยงาม
2. กระจก Tempered คือเอากระจกธรรมดามาทำให้ร้อนเกือบหลอมละลายใหม่ แล้วทำให้เย็น จะเป็นการ เพิ่มความแข็งแรง เวลาแตกจะแตกกระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ ไม่เป็นอันตรายมาก แต่จะไม่มีรอยแยกวิ่งเข้ากรอบ ทำให้เมื่อแตกแล้วจะร่วงหล่นลงมาทันที ดูจากภายนอกจะเป็นลอนเล็กน้อย จึงดูหลอกตา ในบางมุมมอง
3. กระจก Heat Strengthen จะคล้ายกับกระจกสองอย่างแรกปนกัน โดยนำกระจกธรรมดามาให้ความร้อน (แต่ไม่ถึงขนาด Tempered Glass) จึงมีความแข็งแรงมากขึ้น (ไม่เท่ากับ Tempered) เวลาแตกจะแตกแบบ Float มองดูภายนอกเป็นลอนบ้างบางครั้ง แต่ไม่มาก
4. กระจก Laminated ซึ่งความจริงไม่น่าจะนำมาเปรียบเทียบกับกระจกทั้ง 3 อย่างแรก เพราะไม่ใช่แตกต่างกัน ที่วิธีการผลิต แต่เป็นการเอากระจก (อะไรก็ได้) มารีด ประกบติดกัน ด้วยแผ่นฟิล์ม ทำให้เกิด ความแข็งแรงมากขึ้น เวลาแตก.. แผ่นฟิล์มจะทำหน้าที่ยึดติด ไม่ให้ร่วงหล่นลงมาได้
จากกระจกที่แบ่งตามความแข็งแรงในการใช้ดังกล่าวข้างต้น ก็อาจจะแยกกระจก ออกเป็นไปตาม ความสวยงาม หรือผ่านวิธีกรรมอื่น ๆ ได้อีกต่อไป เช่นทำให้ออกมา เป็นกระจกกรองแสง กระจก สะท้อนแสง กระจกเงา ฯลฯ …. แต่นั่นคงไม่ใช่ ความสำคัญประการแรก เนื่องจากเราสามารถ นำกระจก Float, Tempered, Heat Strengthen, หรือ Laminated มาทำเป็นกระจกตัดแสง กระจกสะท้อนแสง หรือกระจกเงาได้ไม่ยากนัก 

 อย่าติดพัดลมระบายอากาศบนผ้าม่าน

 ความหลงลืมอีกอย่างที่มักเกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมการเอาไว้ก่อนก็คือ การติดตั้งผ้าม่านเต็มช่องเปิด (ประตู- หน้าต่าง) แล้วลืมเผื่อช่อง สำหรับติดตั้ง พัดลมระบายอากาศ ทำให้เวลาจะเปิดพัดลมต้อง รูดม่านก่อน ลำบาก และไม่น่าดู …. ดังนั้นหากจะติดพัดลมระบายอากาศตรงไหน ตรวจดูก่อนว่า มีม่านหรือไม่ หากมี ก็ขอให้ออกแบบเตรียมไว้ก่อนด้วย   ... อ่านต่อ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง 2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประตู หน้าต่าง 3
Top Page

ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Tel : ( 02 ) 890-4598   Fax : ( 02 ) 465-4560

Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved