ลอก Spec. ลอกสัญญา ระวังหน้ามืด !
อันตรายอย่างหนึ่งในวงการก่อสร้างของไทยเรา คือการขี้เกียจทำเอกสารตอนเริ่มต้นงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ รายละเอียด ประกอบแบบ ของสถาปนิก วิศวกร และการลอกสัญญาการว่าจ้างต่าง ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้า ไม่มีการตรวจดู ครั้นเมื่อมีปัญหาขึ้น ก็ไม่มีทางแก้ไขแล้ว ตัวอย่างมีมากมาย แต่ขอยกแค่ 2-3 ข้อ (จาก 100) ดังนี้ :
1. แบบและรายละเอียดขัดแย้งกัน (ซึ่งสถาปนิก-วิศวกรมักจะอ้างว่า ในสัญญาให้ผู้ออกแบบ เป็นผู้เลือกและเป็นสิ้นสุด
. แต่ลองไปฟ้องร้องกันในศาลดู แล้วจะรู้ว่า คุณอาจจะไม่มีสิทธิอันนั้น หากศาลสอบแล้ว บอกว่า คุณเป็นนักวิชาชีพ ที่บกพร่องต่อหน้าที่)
2. สัญญาขัดแย้งกับรายละเอียด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทำการแทนเจ้าของโครงการ ในฐานะนักวิชาชีพ ว่าจะเป็น สถาปนิก /วิศวกร /ผู้ควบคุมงาน เพราะใน
Spec. ของทุคน ก็บอกว่าตัวเองนั้นใหญ่ และเป็นผู้ตัดสินใจ
3. อาคารทุกอาคารไม่เหมือนกัน หากใช้
Spec. เหมือนกัน อาคารอาจพังได้
4. ฯลฯ
Shop Drawing คืออะไร ?
Shop Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานจริง ๆ ณ สถานที่ก่อสร้าง เพราะโดยปกติ แบบที่เขียน จากบรรดาสถาปนิก-วิ ศวกร จะแยกส่วนออกจากกัน
ทั้งที่การก่อสร้าง จะต้องสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกัน เชื่อมต่อกัน เช่น ห้องน้ำห้องหนึ่ง จะมีแบบสถาปัตยกรรม แสดงขอบเขตของห้อง แสดงผนัง- ประตู- หน้าต่าง- สุขภัณฑ์ รายละเอียดของคาน
และพื้นแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมโครงสร้าง การเดินท่อน้ำ- ท่อส้วม- ท่อระบาย จะแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล รายละเอียดดวงโคม- สวิตช์-ปลั๊ก แสดงอยู่ในแบบวิศวกร ไฟฟ้า
ซึ่งในการก่อสร้างจริง รายละเอียดทุกอย่าง จะต้องสอดประสาน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเขียน Shop Drawing ที่จะเอารายละเอียดทุกอย่าง มาอยู่ในแผ่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็น
และประกันความมั่นใจว่า งานก่อสร้างนั้น สามารถทำงานได้จริง ไม่ใช่โถส้วมวางอยูใกล้คานมากเกินไป ท่อส้วมเลยต้องวิ่งผ่านคาน (ซึ่งหากเป็นคานขนาดเล็ก ก็จะทำให้อาคารวิบัติได้)
หรือก๊อกน้ำหมุนเปิดไม่ได้เพราะหัวโตเกินไป จนปิดเปิดไม่ได้ เนื่องจากไปติดผนัง เป็นต้น สิ่งดังกล่าวนี้ จะเกิดปัญหาน้อยลง หากเราเสียเวลาเขียน Shop Drawing
สักนิดนึงครับ
หากใจรักกันจริง เขียน Shop Drawing ของกระเบื้องห้องน้ำด้วยจะดีมากเชียว
ห้องน้ำเป็นจุด ๆ หนึ่งที่เราใช้ดูความประพฤติของเจ้าของบ้านว่า เป็นคนสะอาดมากน้อยเพียงไร และก็เป็น อีกจุด เช่นเดียวกันว่า ผู้รับเหมาของเรานั้น
มีคุณภาพแค่ไหน เพราะห้องน้ำ จะเป็นห้องที่นับว่าวุ่นวายที่สุด มีงานระบบ เกือบทุกระบบ เข้าไปเกี่ยวข้อง (แม้ระบบปรับอากาศบางส่วน ยังต้องระบายน้ำ ที่กลั่นตัวมาสู่ท่อ ในห้องน้ำ)
ดังนั้น ก่อนการทำห้องน้ำ จึงน่าจะต้องเขียน Shop Drawing เป็นที่สุด และเมื่อเขียน Shop Drawing ของห้องน้ำแล้ว อย่าลืมใส่รายละเอียด ของกระเบื้อง ที่ปูพื้นบุผนังด้วย
นอกจากเพื่อความสวยงาม ของแนว กระเบื้อง ที่จัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย (ไม่ใช่มองไปทางไหน ก็เจอแต่รอยต่อกระเบื้อง และเศษกระเบื้อง เต็มไปหมด) แล้ว หรือให้การทำงาน
เป็นไปได้จริง ในการปูกระเบื้อง (เช่นหากมีรูระบายน้ำอยู่กลางแผ่น กระเบื้อง เวลาทำงานจริง ช่างกระเบื้องไม่สามารถจะเจาะกระเบื้อง ให้เป็นรูโดยกระเบื้องไม่แตกได้)
สิ่งที่คุณจะได้ประโยชน์ที่สุด
จากการเขียน Shop Drawing ก็คือ ระยะแนวของห้องน้ำ ในแบบที่เข้าสเกล เพราะกระเบื้องทุกแผ่นจะเท่ากัน ช่างห้องน้ำสามารถวัดระยะขององค์ประกอบ อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
จากการนับ กระเบื้อง แทนการวัดด้วยไม้วัด ในขณะทำการก่อสร้าง โอกาสผิดพลาดในการทำงานจะน้อยลงไปเยอะเชียว
As-Built Drawing คืออะไร ?
AS-Built Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นหลังจากการก่อสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว โดยแบบ
AS-Built Drawing จะแสดงรายละเอียด ของสิ่งที่ได้ก่อสร้างไปจริง ๆ เช่นแนวทางเดินสายไฟ แนวทางเดินท่อน้ำ ลักษณะประตู หน้าต่าง ฯลฯ แบบ
AS-Built Drawing นี้อาจจะแตกต่างจากแบบก่อสร้าง
(Construction Drawing) และ Shop Drawing ก็ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเหมาะสม ในงานก่อสร้างหน้างาน เป็นเรื่องธรรมดา (เช่นเจ้าของโครงการสั่งเปลี่ยนตำแหน่งดวงโคม เป็นต้น)
|