Smilehomes.com

กลับหน้าแรก

Smile Home

Smile Guide

Smile Life

Smile Room

Smile board

Smile Service

Smile Links

Contact

  Smile Home

  Living Room
  Dinning Room
  Bedroom
  Working Room
  Children Room
  Hall
  Kitchen
  Toilet

  Smile Guide

  Decorate Guide
  Condominium
  Furnitures
  Garden
  Home Theatre
  Material Decorative
  Repair Your Home
  100 Q & A
  Law
  Contract
  Loan For Residential

  Smile Life

  Relationship
  Children
  Health

  Smile Room

  Caricatures
  Family Jokes
  Sexy Jokes
  Stars
  Riddles
  Riddler
  Quotes
  Games

  Smile Webboard

  Your Webboard
  Home For Sale
  Land For Sale

  Smile Service

  Architcture
  Interior Design
  Homes Plan
  Web Design

  Smile Links

  Cool Links
  Cool Sites

  Contact

 
 

 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก การออกแบบ2
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก  2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 3

.
ข้อมูลบางส่วนนี้ คัดมาจากหนังสือ ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง ของ อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แก่ผู้สนใจครับ


สร้างบ้านสักหลัง….ยกพื้นสูงเท่าไรดี จึงจะประหยัดทรัพย์ (บางส่วน)?
ออกแบบตึกสูงให้มีปัญหาน้อยที่สุด เริ่มต้นที่ไหนดี?
การออกแบบห้องพักอาศัยแบบไม่ใหญ่นักบนตึกโต ๆ มักจะเจอปัญหาว่าแต่ละ Unit มีด้าน ที่ติดอากาศด้านนอก น้อยเหลือเกิน…. ท่านจะเลือกเอาห้องอะไรติดอากาศภายนอกดี ระหว่างห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ และห้องครัว?
อาคารอะไร ออกแบบ ควบคุมงาน และก่อสร้าง ยากที่สุด?
การมองหุ่นจำลองให้ถูกวิธี


สร้างบ้านสักหลัง….ยกพื้นสูงเท่าไรดี จึงจะประหยัดทรัพย์ (บางส่วน)?
 ตามปกติทั้งเจ้าของบ้านและสถาปนิกชอบยกพื้นชั้นล่างให้สูงขึ้น 1.00 เมตร เพราะเป็นตัวเลขที่ลงตัวดี แต่ความจริงแล้ว การยกพื้นบ้านสูง 1.00 เมตร จะแพงมาก เนื่องจากระยะ 1.00 เมตรเป็นระยะที่ต้องใช้ทรายถมแทนไม้แบบ หากใช้ไม้แบบก็จะต้องทิ้งไม้แบบนั้นไปเลย เพราะความสูงใต้พื้นใต้คานไม่พอที่จะคลานเข้าไปนำไม้แบบกลับคืนมา…. หากอยากประหยัด ขอแนะนำให้ยกขึ้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร ซึ่งจะมีความสูงใต้พื้น-คาน เพียงพอที่จะเอาไม้แบบคืนมา หรือไม่ก็ต่ำกว่า 1.00 เมตร ไปเลย จะได้เสียค่าทรายถมแทนแบบน้อยลง
(หมายเหตุ : ระดับนี้นับจากระดับดินเดิมในขณะก่อสร้าง) 

 ออกแบบตึกสูงให้มีปัญหาน้อยที่สุดเริ่มต้นที่ไหนดี?
 ตึกสูงเป็นการนำเอาวิทยากรและเทคโนโลยี มาใช้ต่อสู้กับธรรมชาติอย่างกล้าหาญและรุนแรง การออกแบบตึกสูง จึงไม่น่าจะ วางแนวทางการทำงน เหมือนกับการ ออกแบบบ้าน หรืออาคารขนาดเล็ก ที่ไม่ค่อยสลับซับซ้อน….. มิใช่เป็นการสอนหนังสือสังฆราช แต่อยากจะแนะนำ แนวทางดังต่อไปนี้ (ให้เฉพาะมือใหม่ ๆ ก็พอ)
1.) สอบถามเจ้าของโครงการถึงความต้องการพื้นฐาน และงบประมาณ
2.) แล้ว…ตรวจเช็คกฎหมายเสียก่อนว่าทำได้หรือไม่ และแค่ไหน
3.) หากกฎหมายผ่าน ตรวจเช็คความเป็นไปได้ และงบประมาณ สร้างสมมุติฐาน ถึงขนาดอาคาร และความสูงอาคาร
4.) หาก 1-3 ผ่าน……จึงเริ่มการออกแบบต่อไป
5.) เริ่มต้นที่เช็คจำนวนลิฟท์-การติดต่อทางแนวตั้งเสียก่อน เพราะเป็นตัวบังคับที่สำคัญ การแก้ไข ภายหลัง ทำได้ยากมาก
6.) แล้ว…..คุยกับวิศวกรโครงสร้างว่าจะจัดวางระบบโครงสร้างอย่างไร
7.) แล้ว….คุยกับวิศวกรระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาล-เครื่องกล ว่าจะวางแนวทางกันอย่างไร ท่อ- สาย-เครื่อง เดินอย่างไร และวางไว้ที่ใดได้บ้าง
8.) แล้ว…..จึงเริ่มวางรูปแบบ
9.) แต่หากคุณเก่ง-มีประสบการณ์แล้ว…..ลุยเลย…ไม่ต้องสนใจที่เขียนมา! 

 การออกแบบห้องพักอาศัยแบบไม่ใหญ่นักบนตึกโต ๆ มักจะเจอปัญหาว่าแต่ละ Unit มีด้าน ที่ติดอากาศด้านนอก น้อยเหลือเกิน…. ท่านจะเลือกเอาห้องอะไรติดอากาศภายนอกดี ระหว่างห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ และห้องครัว?
 คงจะไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรน่าจะอยู่ตรงไหน เพราะเป็นหน้าที่ของสถาปนิกและฝ่ายการตลาด ที่จะ ตัดสินใจเอง ว่า อย่างไหนดี และอย่างไหนจึงจะขายได้ แต่ก็อดมีข้อคิดในการวิเคราะห์ไม่ได้ว่า…
- ส่วนของ Unit ที่ติดด้านนอกจะทำหน้าที่ "นำแสงและมุมมองเข้ามาใน Unit" และ "ระบาย-ถ่ายเท อากาศออก"
- การนำแสง (ธรรมชาติ) และมุมองเข้าสู่ Unit ใช้อุปกรณ์ช่วยไม่ได้
- การถ่ายเทอากาศใช้อุปกรณ์เครื่องกล ช่วยได้
- ห้องนอนและห้องรับแขก ต้องการทั้งมุมมอง และการถ่ายเทอากาศ
- ห้องครัว-ห้องน้ำ ไม่ต้องการมุมมองมาก แต่ต้องการถ่ายเทอากาศ
ดังนั้นหากไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร ก็ขอแนะนำให้เอาห้องนอนและห้องรับแขกติดด้านนอก ส่วนห้องน้ำ และห้องครัว ใช้พัดลม ระบายอากาศ (อย่างดี) เข้าช่วย

 อาคารอะไร ออกแบบ ควบคุมงาน และก่อสร้าง ยากที่สุด?
 โรงพยาบาล" เป็นอาคารที่ออกแบบและก่อสร้างยากที่สุด (ไม่นับอาคาพิเศษมาก ๆ อื่น ๆ เช่น อาคารปรมาณู วัด โบสถ์ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น) เนื่องจากโรงพยาบาล มีอุปกรณ์พิเศษหลายอย่างในอาคาร ที่ยากรอง ๆ กันลงมาก็คือ "โรงแรม" .. แล้วก็ "คอนโดมิเนียม" แล้วก็ "อาคารสำนักงาน" ส่วนบ้านนั้น จะยากจะง่าย ก็ต้องแล้วแต่เจ้าของบ้าน ไม่ใช่ค่อยขึ้นกับชนิดของอาคาร 

 การมองหุ่นจำลองให้ถูกวิธี
 หลายคนที่ดูหุ่นจำลองมักชอบทำตัวเป็นนก ที่บินอยู่กลางอากาศแล้วมองลงมาที่อาคารนั้น ๆ ซึ่งในชีวิตจริง โอกาสที่ท่านจะเห็นอาคารมุมนั้นมีน้อยมาก เวลามองดูหุ่นจำลอง จึงควรสมมุติตนเอง เป็นมนุษย์ตัวเล็ก ๆ ย่อตัวลงที่ระดับพื้นหุ่นจำลอง แล้วค่อยมองเข้าไป จะได้ภาพที่เป็นจริงมากกว่า (และอย่าเสพติดกับมุมสูง ที่มองเห็นแต่หลังคานักเลย) 
  ... อ่านต่อ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 1 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก  2 - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสถาปนิก 3
Top Page

ICQ:7677766
  E-mail : smilehomes@hotmail.com  
Tel : ( 02 ) 890-4598   Fax : ( 02 ) 465-4560

Copyright © 2000 Smilehomes.com - All Rights Reserved