ออกแบบตกแต่งภายในอย่างไร ไม่ทำให้งานก่อสร้างต้องหยุดรอ
เป็นเรื่องที่คนในวงการก่อสร้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับเหมาก่อสร้าง) ไม่ค่อยมีความสุขนัก เพราะงาน ออกแบบ ตกแต่งภายใน
(Interior Design) มักจะเริ่มล่าช้า กว่าที่ควรจะเป็น ทำให้การก่อสร้าง บางจุด ต้องหยุดชะงักลง เช่นกำลังจะเตรียมพื้นผิว ก็ไม่รู้ว่าพื้นผิวนั้น ปูด้วยอะไร จะก่ออิฐทำผนัง ก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่า แบบตกแต่งภายใน จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า
ขอเสนอแนะวิธีการแก้ไขเหตุการณ์นี้ โดยให้ทางผู้ออกแบบตกแต่งภายใน แบ่งออกแบบ และเขียนแบบ ออกเป็น 2 ระยะคือ
1. ระยะที่ 1 : Architectural Interior ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อสอดประสานกับงานก่อสร้างของสถาปัตยกรรม- วิศวกรรม กำหนด รายละเอียด เรื่องแนวผนัง วัสดุพื้นผิว ระดับพื้น ตำแหน่งดวงโคม- สุขภัณฑ์ ฯลฯ เพียงพอ ต่อผู้รับเหมาใหญ่ ผู้รับเหมางานระบบทำงานได้โดยไม่ติดขัด
2. ระยะที่ 2 : Interior Decorate ซึ่งเป็นการออกแบบ เขียนแบบในส่วนรายละเอียด ของการตกแต่งภายใน มีข้อมูลครบถ้วน เพื่อให้ผู้รับเหมางานตกแต่งภายใน สามารถดำเนินการได้ มีการเลือกใช้วัสดุ อย่างละเอียดทั้งรุ่น สี ขนาด
หากเจ้าของโครงการ และมัณฑนาการ ดำเนินการตามแนวทางที่ว่านี้ จะช่วยอย่างมาก ไม่ให้โครงการ ทั้งโครงการ เกิดความล่าช้า และไม่ทำให้ผู้อื่นลำบากรำคาญ
หากคุณชอบเตียงใหญ่ ๆๆๆๆ คุณต้องระวังอะไร?
ส่วนใหญ่ใครก็ชอบเตียงใหญ่ ๆ แต่บางคนอาจจะชอบมากไปหน่อย เลยไปสั่งให้ช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ ทำเตียง ขนาดพิเศษ พอเอาเข้าไปวางในห้องนอนเสร็จ เดินหาซื้อที่นอนอยู่ 3 เดือน ก็หาไม่เจอ ที่นอนขนาดเดียวกับเตียง ที่สั่งทำ
. ก็เลยขอให้ระวังไว้ด้วยว่า ที่นอนสมัยนี้ เขามีขนาดแน่นอน ขนาดผิด ประหลาดไป เขาไม่ทำกันแล้ว ระวังหน่อยนะคะ
ออกแบบสถาปัตยกรรม อย่าลืมเผื่อเฟอร์นิเจอร์ไว้สัก 60-80 เซนติเมตร
บ้านเราสมัยนี้ขนาดเล็กลง ๆ เพราะที่ดินราคาแพงขึ้น ค่าก่อสร้างราคาก็แพงขึ้น แต่พวกเราที่ใช้บ้านทุกวันนี้ ดันต้องการอะไรต่ออะไรที่จะใช้สอยในบ้านมากขึ้น
สมัยก่อนเวลามีบ้านก็ไปซื้อตู้ซื้อเตียงมาใส่ พื้นที่ห้องกว้างขวาง จะวางเฟอร์นิเจอร์ตรงไหนก็วางได้ แถมยังมีเนื้อที่ห้องเหลือมากมาย
.. แต่ปัจจุบัน
ห้องมีขนาดเล็กลง แต่เราต้องการเฟอร์นิเจอร์มากขึ้น ตู้เสื้อผ้าที่รุ่นพ่อรุ่นแม่มีเพียง 1-2 ใบ ก็ต้องการเพิ่มเป็น 2-4 ใบเป็นต้น
หากท่านกำลังออกแบบบ้านหรืออาคารอื่นใดสักหลังหนึ่ง อย่าลืมเตรียมพื้นที่ให้ท่านผู้ออกแบบตกแต่งภายใน (ซึ่งอาจจะเป็นตัวท่านเอง)
เอาไว้บ้างเวลาเอาเฟอร์นิเจอร์มาใส่จะได้จัดวางได้ (ไม่เตรียมการเอาไว้ จะเกิดอาการ ตู้ไปบังหน้าต่าง เดินเข้าห้องต้องคอยหลบแง่ตู้ วางเตียงแล้วทำความสะอาดไม่ได้ ฯลฯ) ระยะโดยทั่วไป สำหรับเฟอร์นิเจอร์ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ก็เพียงพอ (ยกเว้นเตียงนอน)
ไม่น่าจะมากจะน้อยกว่านี้ และหากให้ดี น่าจะเตรียมพื้นที่สำหรับต้นไม้เขียว ๆ (รวมถึงวิธีการรดน้ำต้นไม้) ไว้บ้าง ก็จะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้นเยอะเชียว
ออกแบบเตียง ระวังครีบกันที่นอนเลื่อน และโต๊ะหัวเตียงตีแสกหน้า
หลายคนที่ออกแบบเตียงนอนเอง ขอให้ระวังและคิดถึงอยู่เสมอว่า ที่นอน (ฟูก) นั้นจะต้องมีการยุบตัวลง เมื่อท่านขึ้นไปนอน หรือวิ่งเล่น
ฟูกดังกล่าวจะมีการยุบตัวลงมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ยี่ห้อ และรสนิยมของท่าน เวลาฟูกยุบตัวลง เตียงหลายชุดค่อนข้างจะอันตรายหรือนอนไม่สบายเนื่องจาก
ยุบตัวลงแล้ว เท้า-มือ-หน้า ของท่านไปกระทบกับขอบโต๊ะหัวเตียงหรือ ครีบที่กันที่นอนเลื่อน
.จึงขอให้คิดคำนึงไว้ด้วย ก่อนที่ถั่วจะสุก -งาก็ไหม้-และหน้าก็แตกขอรับ
ระวังไฟไหม้ในตู้เสื้อผ้า
ตู้เสื้อผ้าสมัยใหม่มักจะมีหลอดไฟพิเศษอยู่ภายในตู้
และหลอดไฟจะเปิดปิดเองโดยอัติโนมัติ เวลาท่านเปิดปิด ตู้เสื้อผ้านั้น
สิ่งที่น่าระวังระไวมาก ๆ ก็คือการลืมปิดตู้ (ทำให้ไฟเปิดตลอดเวลา ที่ท่านออกไปทำงาน) หรือเมื่อตู้ ใช้ไปนาน ๆ หลอดไฟ- สายไฟอาจเสื่อมสภาพ พึงคำนึงไว้เสมอว่าผู้ที่เดินสายไฟ-ติดตั้งไฟฟ้าในตู้ของท่าน
เป็นช่างเฟอร์นิเจอร์ ไม่ใช่ช่างไฟฟ้า ขอแนะนำอย่างยิ่งว่ากรุณาตรวจดูสภาพของสายไฟ-หลอดไฟ ไว้เสมอ ๆ (ซึ่งท่านเอง คงจะมีพื้นฐาน เรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว) อีกทั้งอย่าลืมปิดตู้ (หรือปิดตู้ไม่สนิท) โดยเด็ดขาด
ไม่เช่นนั้นเวลาท่านกลับบ้าน อาจจะไม่เจอบ้านของท่านก็ได้ (เหลือแต่ที่ดินโล่ง ๆ กับเศษเถ้าถ่าน
..แฮ!!) ี
... อ่านต่อ
|