แอร์มีกี่ชนิด
กี่แบบ และต่างกันอย่างไร
มีคำถามว่า
แล้วเจ้าเครื่องปรับอากาศที่เราใช้อยู่ในบ้านเรานี้มีกี่อย่าง
กี่ชนิด กี่ระบบ ก็ขอแยกย่อย
โดยสังเขป แบบชาวบ้าน ได้เป็น
3 แบบดังนี้
1. แบบติดหน้าต่าง ( Window Type)
เป็นแบบที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในกล่อง
ๆ เดียว และติดแขวนไว้ที่
ช่องหน้าต่าง หรือผนังห้อง
เป่าลมเย็นเข้าห้อง โผล่ก้น
ออกมาระบายความร้อน มีขนาด 8,000
- 30,000 BTU. หรือภาษาชาวบ้านคือ .7-.25
ตัน (ใหญ่กว่านี้ทำไม่ได้
เพราะเครื่องจะใหญ่
และหนักเกินไป ติดตั้งแล้ว
ช่องหน้าต่าง หรือผนัง
จะรับน้ำหนักไม่ไหว)
กินไฟค่อนข้างมาก
และมีเสียงดังกว่าทุกระบบ
แต่สะดวกในการติดตั้ง
สะดวกในการเคลื่อนย้าย
ติดตั้งรวดเร็ว
2. แบบแยกส่วน (Split Type)
เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
แยกส่วนที่เป่าลมเย็น ออกจาก
ตัวเครื่องระบายความร้อน
ขนาดตั้งแต่ 1-50 ตัน (ขนาด 1-3 ตัน
มักไม่มีการ ต่อท่อลม
ไปจ่ายหลาย ๆ จุด
แต่หากมากกว่านั้น
อาจมีการต่อท่อลม
ออกจากส่วนเป่าลม ไปจ่ายหลาย
ๆ จุด) แอร์ระบบแยกส่วนนี้
ดีตรงที่ ไม่ค่อยมีเสียงดัง (เพราะเครื่องระบายความร้อน
โดนแยกออกไปวางไว้ที่อื่น)
แต่จะยุ่งยาก ในการติดตั้ง
มากกว่า ระบบติดหน้าต่าง
เพราะต้องคำนึงถึง
การเดินท่อระหว่างเครื่อง
ที่แยกส่วน
. ที่สำคัญอย่าลืม
ท่อระบายน้ำ
จากที่เป่าลมเย็น ( Fan Coil )
ไปทิ้งด้วย
3. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น
(Water Chiller)
ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวกลางในการผลิตความเย็น
ใช้สำหรับ อาคารใหญ่ ๆ
มีขนาดตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป
มีความยุ่งยากในการติดตั้ง
แต่จะกินไฟ น้อยกว่าชนิดอื่น
ๆ
.สถาปนิก
และวิศวกรโครงสร้าง
ผู้ออกแบบแต่เริ่มต้น
กรุณาอย่าลืม
ที่จะจัดเตรียมห้องเครื่อง
และโครงสร้าง
ที่แข็งแรงเพียงพอ
เพื่อวางระบบนี้ด้วยนะครับ (โดยการปรึกษา
กับวิศวกรเครื่องกล)
สำหรับแอร์ระบบ
ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า Central Air
นั้น ส่วนใหญ่
จะหมายถึงแอร์ระบบสุดท้าย
เพราะมี
จุดเครื่องระบายความร้อนจุดเดียว
แต่ส่งผ่านไปหลายจุด
ทั่วทั้งอาคาร
แต่บางครั้งแอร์ระบบ Split Type
ใหญ่ ๆ ที่ส่งลมเย็นไปได้หลาย
ๆ จุด ก็อาจจะเรียกว่าเป็น Central
Air ได้เหมือนกัน
ห้องปรับอากาศระบบท่อลม
จะเย็นสบาย
.ระวังติดคาน ?
หลายคนอ่านคำถามแล้วก็คงไม่รู้เรื่อง
(ซึ่งก็ไม่น่าจะรู้เรื่อง)
ว่าหมายถึงอะไร
.ก็ขอแปลเลยว่า
ระบบปรับอากาศ
ที่ต้องมีท่อลม
วิ่งออกจากตัวเครื่อง
เพื่อจ่ายลมเย็น
ท่อลมโดยทั่วไป
มีขนาดลึกประมาณ 40 เซนติเมตร
หากฝ้าเพดานของคุณ
มีคานรับพื้นชั้นบนขวางอยู่
เจ้าท่อลมนี้ ก็ไม่สามารถ
จะผ่านเข้าไปได้ อาจต้อง
มีการเจาะคาน (ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่
เรื่องโต ยุ่งยาก และอาจทำให้
อาคารคุณ วิบัติได้ง่าย ๆ)
หรือหยุดท่อลมไว้
เพียงแนวคานเท่านั้น
ดังนั้นการออกแบบ
ระบบปรับอากาศ ขอให้คำนึง
ตั้งแต่ เริ่มต้นการออกแบบ
สถาปัตยกรรม และแบบโครงสร้าง
อย่าปล่อยให้ปัญหาต่าง ๆ
เกิดขึ้นภายหลัง
ตามที่เล่ามา
หากพูดให้ลึกเข้าไปอีกนิดว่า
นอกจากท่อลมแอร์แล้วเราต้องเตรียมพื้นที่ใต้แผ่นฝ้าเพดาน
ไว้สำหรับ อะไรอีก
ก็อาจสรุปโดยรวมได้ดังนี้
1. อย่าลืมท่อน้ำ
2. อย่าลืมท่อไฟ (และที่ว่างสำหรับหลอดไฟ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ดวงโคมทรงกระบอก ที่ฝังในฝ้า
หรือ Down light)
3. อย่าลืมท่อลมปรับอากาศ
และระบบปรับอากาศเกี่ยวเนื่อง
4. อย่าลืมท่อลมระบายอากาศ (หากมี)
5.
อย่าลืมความหนาของระบบฝ้าเพดาน
6. อย่าลืม
.อย่าลืม
.อย่าลืม
แอร์แยกส่วน Split Type
มีข้อจำกัด
ที่ไม่สามารถมีท่อน้ำยายาว ๆ
ได้ (เพราะจะไม่เย็น)
แต่หากจำเป็น
ต้องตั้งคอยล์ร้อน กับ
พัดลมเย็นอยู่ห่างกันจริง ๆ
จะทำอย่างไร
หากจำเป็นต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
เพื่อเพิ่มขนาดของท่อน้ำยาจากขนาดมาตรฐาน
ของเครื่อง ให้โตขึ้น
ให้น้ำยาวิ่งสะดวกขึ้น
ก็จะแก้ปัญหาได้ครับ
ใช้เครื่องปรับอากาศให้คุ้ม
และถูกวิธี
เจ้าระบบปรับอากาศกลายเป็นสิ่งที่สำคัญไปแล้วในชีวิตเราปัจจุบัน
แต่หลายคน อาจยังเข้าใจผิด
ใช้เครื่องปรับอากาศ
เป็นเพียง "เครื่องทำความเย็น"
ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดหน้าที่
เพราะอาจจะเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพได้ เพราะการจัดวาง
จัดเตรียม
ระบบปรับอากาศที่ดี
จะต้องประกอบด้วย
หน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เพื่อลดอุณหภูมิ
2. ควบคุมความชื้น
ไม่ให้แห้งเกินไป (ผิวแตก)
หรือ ชื้นเกินไป (เหนอะหนะ)
3. ให้อากาศในห้องเคลื่อนไหว
(ทำให้รู้สึกสบายไม่อึดอัด)
4. ทำให้อากาศสะอาด (ป้องกันฝุ่น
และอาจช่วยฟอกอากาศบ้าง)
5. มีระบบระบายอากาศ (การถ่ายเทอากาศจากภายนอก)
หากใครใช้ระบบปรับอากาศครบ
5 ข้อข้างบน
จึงจะทำให้ระบบปรับอากาศมีความสมบูรณ์
ดังนั้น ใครที่ติดแอร์อยู่
น่าจะสำรวจดูว่า
เครื่องหรือระบบปรับอากาศของตนนั้น
ทำงานครบทุกหน้าที่หรือไม่
ถ้าไม่ครบ
ก็น่าจะปรับปรุงเสีย
เพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน
เช่นลืมพัดลมระบายอากาศหรือเปล่า
เป็นต้น
... อ่านต่อ
|